2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

27 ความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความ คิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ความสาคัญอีกประการหนึ่งของหลัก ความเสมอภาค คือเป็นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้อานาจอธิปไตยตามอาเภอใจ การกระทาของรัฐที่ กระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลหากเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยการให้ประโยชน์แก่ บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะ รัฐจะต้องสามารถให้คาอธิบายอันสมเหตุสมผลได้ว่า เพราะเหตุใดจึงดาเนินการเช่นนั้น หากเหตุผลที่ให้ไม่สามารถรับฟังได้ อาจแสดงให้เห็นได้ว่ารัฐกาลัง ใช้อานาจอธิปไตยตามอาเภอใจและเป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยความไม่เป็นธรรม (อภิวัฒน์ สุด สาว, 2554) หลักความเสมอภาคของบุคคลสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญของประชาชนคนไทย ได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมกันเสมอมา โดยได้รับการรับรองไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยหลายฉบับไม่ว่าจะเป็น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กาหนดหลักความเสมอภาคของบุคคลไว้ในมาตรา 51 ว่า ประชาชนชาวไทยไม่ว่าแหล่งกาเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน เห็นได้ว่า รัฐได้เล็งเห็นถึง ความสาคัญของบุคคลภายในประเทศ ให้ได้รับความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพ ที่เท่าเทียมกัน เช่นด้าน กฎหมายโดยบัญญัติไว้ในมาตรา 30 ว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายเท่าเทียมกัน รวมถึงความเสมอภาคระหว่างชายและหญิง”บทบัญญัติที่เกี่ยวกับ ความเสมอ ภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชนยังได้รับการรับรองไว้อีกหลายครั้งในรัฐธรรมนูญฉบับ ต่อ ๆ มา เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พุทธศักราช 2550 บัญญัติเรื่องหลักความเสมอภาคและ สิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ใน มาตรา 30-309 เป็นต้น และล่าสุดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความ คุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อ บุคคลไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทาง กายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทา มิได้มาตรการที่รัฐกาหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้ เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออานวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม บุคคลผู้เป็นทหาร ตารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและ เสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จากัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม หลักความเสมอภาคถือว่าเป็นหลักกฎหมายหรือหลักการที่ได้รับการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3