2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

28 ยอมรับกันทั่วไป โดยมีการยอมรับเอาหลักความเสมอภาคเข้าไปไว้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย รัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และยังถือเป็นหลักกฎหมายทั่วไป ในระดับของรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและมีผลผูกพันองค์กรผู้ใช้ อานาจรัฐเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มนุษย์ทุกคนย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครอง จากกฎหมายที่เท่าเทียมกัน โดยมิต้องคานึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ เช่น เชื้อชาติศาสนา ภาษา ถิ่นกาเนิด หลักความเสมอภาคยังเป็นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้อานาจของตนตามอาเภอใจ ดังนั้นหลักความเสมอ ภาคจึงเป็นหลักสาคัญในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสามารถนามา ตรวจสอบการใช้อานาจของรัฐไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายนิติบัญญัติฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ 2.1.2 ประเภทของหลักความเสมอภาค ประเภทของหลักความเสมอภาคโดยทั่วไปแล้ว สามารถออกได้เป็น 3 ประการ ได้แก่หลัก ความเสมอภาคทั่วไป หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง และหลักข้อห้ามมิให้มีการเลือกตั้งอธิบายได้ ดังนี้ 1) หลักความเสมอภาคทั่วไป หลักความเสมอภาคทั่วไป เป็นหลักการที่มิได้เรียกร้องให้มีการปฏิบัติให้เหมือนกันใน ทุกกรณี แต่เรียกร้องมิให้มีการปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสาคัญเหมือนกันให้แตกต่างอย่างอาเภอใจ หรือมิ ให้การปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสาคัญต่างกันให้เหมือนกันอย่างอาเภอใจ ดังนั้นหลักความเสมอภาคทั่วไป จึงถือว่าเป็นหลักข้อห้ามหรือเป็นสิทธิเรียกร้องของบุคคลเพื่อมิให้มีการใช้อานาจอย่างอาเภอใจนั่นเอง (เนติพงษ์ วิจิตรเวชการ, 2559) ตัวอย่างของหลักความเสมอภาคทั่วไปนั้นปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม อยู่ในมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่กาหนดว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน” 2) หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง หมายถึงหลักความเสมอภาคที่นามาใช้พิจารณา เฉพาะกรณีตัวอย่างเช่น ตามมาตรา 30 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยกาหนดให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ถือว่าเป็นหลักความเสมอภาค เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับชายและหญิง และในรัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบัน พุทธศักราช 2560 ยังได้ บัญญัติเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องไว้อีกหลายเรื่องเช่นกัน ในแง่ของการนาหลักความ เสมอภาคเฉพาะเรื่องไปใช้โดยพิจารณาว่ากรณีใดจะขัดหรือแย้งต่อหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง หรือไม่ จึงต้องดูที่หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องที่กาหนดไว้นั้นเสียก่อน หากเห็นว่าไม่ขัดกับหลัก ความเสมอภาคเฉพาะเรื่องแล้ว กรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องกลับมาพิจารณาหลักความเสมอภาคทั่วไปอีก ตัวอย่างของหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องหญิงและชาย เช่น กรณีของชื่อสกุลของหญิงมีสามี หลักการที่กฎหมายกาหนดให้ต้องเปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลของสามีเท่านั้น โดยมิได้ให้ใช้ชื่อสกุลของฝ่าย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3