2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
29 หญิงเป็นชื่อสกุลของคู่สมรสแต่อย่างใดนั้น เป็นการเลือกปฏิบัติของกฎหมายโดยอาศัยเหตุผลจ าก ประเพณีวัฒนธรรมอย่างเดียว จึงไม่อาจถือเป็นเหตุผลอันสมควรที่จะเป็นข้อยกเว้นหลักความเสมอ ภาคระหว่างหญิงและชายได้ (อุดม รัฐอมฤต & บรรเจิด สิงคะเนติ , 2544) ตามมาตรา 12 พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 ที่บัญญัติว่า คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ ชื่อสกุล เดิมของตน การตกลงกันตามวรรคหนึ่ง จะกระทา เมื่อมีการสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้ ข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสจะตกลงเปลี่ยนแปลง ภายหลังก็ได้ 3) หลักข้อห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติ ข้อห้ามในการเลือกปฏิบัติหมายถึงว่า บุคคลไม่อาจได้รับการเลือกปฏิบัติอันทา ให้ บุคคลนั้นได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันเนื่องมาจากคุณสมบัติที่กาหนดไว้และเหตุที่กาหนดไว้นั้นก็ได้แก่ ตามมาตรา 27 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกัน ในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่น กาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคลฐานะทาง เศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทามิได้ มาตรการที่รัฐกาหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออานวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม บุคคลผู้เป็นทหาร ตารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้าง ขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จากัดไว้ในกฎหมายเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม การเลือกปฏิบัติอันทาให้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันนั้นอาจเกิดจากการ กระทาหรือละเว้นกระทาก็ได้เป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาค แต่บางกรณีแล้วการปฏิบัติให้ แตกต่างกันโดยอาศัยคุณสมบัติที่กาหนดไว้เหล่านั้น ก็อาจไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาคได้หากถือได้ว่า เป็นกรณีที่“มีเหตุผลอันสมควร” เช่น การใช้ “อายุ” มาเป็นเกณฑ์ในการกาหนดสิทธิเลือกตั้งมีอายุไม่ ต่ากว่า 18 ปีที่ถือว่าไม่ขัดแย้งกับหลักเสมอภาค เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสิทธิ เลือกตั้ง นั้นไม่อาจกาหนดให้กับคนทุกคนได้ เพราะสิทธิทางการเมืองดังกล่าวนั้นเป็นการกาหนดให้สิทธิโดย คานึงถึงวิจารณญาณในการตัดสินใจของบุคคล จึงจาเป็นจะต้องให้ถึงวัยที่มีวิจารณญาณทางการเมือง อย่างเหมาะสมเสียก่อน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3