2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

33 พ.ศ. 2558 ที่กาหนดให้การยางแห่งประเทศไทยส่งเสริมและสนับสนุนโดยจ่ายให้แก่เกษตรกร ชาวสวนยาง ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนดไว้ (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2565) 2.4 ทฤษฎีความเหลื่อมล้า 2.4.1 ความหมายของความเหลื่อมล้า “ความเหลื่อมล้า” คือ ความไม่เท่าเทียมกัน (Inequality) เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกัน ปรากฏในทุก ๆ เรื่อง ทุก ๆ พื้นที่ ทุก ๆ ภาคส่วน และทุก ๆ เวลา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะขจัด ให้หมดสิ้นไปได้ ความเหลื่อมล้าทางสังคมเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมาอย่างยาวนาน สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็น เรื่องที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยร่วมกันโดยเฉพาะปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบาง คน ชายขอบ ที่ยังคงตกเป็นผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกีดกัน และถูกตีตราอยู่เสมอไป ไม่ว่าจะในสถานการณ์ ใด ๆ ก็ตาม (อานาจ มงคลสืบสกุล, 2563) อีกทั้งความเหลื่อมล้ามักจะเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียม กันระหว่างผู้ที่มีโอกาสกับผู้ที่ขาดโอกาสโอกาสในที่นี้คือ โอกาสในการเข้าถึงต่อรองและจัดการ ทรัพยากรต่าง ๆ ในสังคมความเหลื่อมล้าบางครั้งก็เป็นเหตุบางครั้งก็เป็นผลในตัวเองที่เป็นเหตุเพราะ ความเหลื่อมล้ามักจะทาให้เกิดความไม่เป็นธรรม หรืออาจจะเป็นเพราะเหตุที่เกิดจากการที่คนเกิดมา "ไม่เท่ากัน" จึงก่อให้เกิดความเหลื่อมล้าตามมาการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาสามารถยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นประชาชนมีงานทาและมีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น รายได้เฉลี่ย ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นปัญหาความยากจนลดลงและประชาชนเข้าถึงบริการทางสังคมและ สาธารณูปโภคอันเป็นปัจจัยจาเป็นพื้นฐานในการดารงชีวิตได้มากขึ้น แต่อย่างไรตาม ความไม่เท่า เทียมกันในโอกาสของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โอกาสของคนในเมืองกับชนบทในการเข้าถึงบริการ สาธารณะหลักที่มีคุณภาพยังมีช่องว่างมากและการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ในสังคมยังไม่เท่าเทียมกันเป็น ปัญหาที่สะท้อนถึงความเหลื่อมล้าที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างในสังคมไทยทาให้ประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศได้รับความเดือดร้อนจากความไม่เท่าเทียมของความเติบโตทางเศรษฐกิจและความแตกต่าง กันในการเป็นเจ้าของทรัพยากร ส่งผลต่อรายได้ที่แตกต่างกันมากระหว่างกลุ่มคนในสังคมอันสะท้อน ถึงความไม่เท่าเทียมของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและสิทธิพื้นฐาน รวมทั้งความไม่เป็นธรรมด้าน อานาจต่อรอง จากสภาพปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการขาดโอกาสเชิงเศรษฐกิจ สังคมและการ เข้าไม่ถึงทรัพยากรของประชาชนในบางกลุ่มบางพื้นที่ รวมทั้งความไม่เป็นธรรมด้านสิทธิและอานาจ ต่อรองของประชาชนบางกลุ่มและได้ส่งผลต่อการแสวงหารายได้เพื่อการประกอบอาชีพ เป็นต้น (อติวิชญ์ แสงสุวรรณ, 2558)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3