2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
34 2.4.2 ความเหลื่อมล้าทางรายได้ของครัวเรือนเกษตรกร สถานการณ์ความเหลื่อมล้าด้านรายได้ของไทยถึงแม้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ภาค เกษตรกรรมของไทยยังประสบปัญหาความเหลื่อมล้าทางรายได้สูงอยู่ เนื่องจากครัวเรือนเกษตรส่วน ใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย มีภาระหนี้สูง มีการศึกษาต่า ทัศนคติในการทาการเกษตรยังเป็นแบบดั้งเดิม และยังขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรการเกษตรทั้งที่ดินและชลประทาน อีกทั้งยังได้ผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกทั้งจากราคาน้ามัน กระแสโลกาภิวิตน์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการ ระบาดของโควิด - 19 เป็นตัวเร่งทาให้เกิดความเหลื่อมล้าทางรายได้ของครัวเรือนเกษตรมากยิ่งขึ้น (กานต์ปพิมพ์ อรรถเจตน์, 2565) จริงอยู่ที่ว่าความเหลื่อมล้าทางรายได้ของครัวเรือนไทยมีแนวโน้มลดลง แต่ยังอยู่ในระดับที่ ค่อนข้างสูงและในช่วงที่ผ่านมาการศึกษาในมิติอาชีพยังมีจานวนไม่มากและผลการศึกษาดังกล่าวไม่ได้ ช่วยให้เข้าใจถึงปัญหาได้อย่างชัดเจน และเป็นธรรมดาที่ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพแตกต่างกันย่อมมี รายได้แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม หากศึกษาเจาะลึกลงไปในแต่ละกลุ่มอาชีพอาจพบว่าภายในอาชีพ เดียวกันอาจเผชิญกับความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้และอาจมีบางอาชีพที่กาลังลังเผชิญปัญหาที่ รุนแรงและควรได้รับการเยียวยา (ณัฐนรี มณีจักร, 2562) ดังนั้นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้าด้านรายได้ของครัวเรือนเกษตรในระยะยาวเพื่อช่วย เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคเกษตรภายหลังวิกฤติโควิด - 19 ในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ งานวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่า ในเรื่องของ การขอรับเงินทุนสนับสนุนการปลูกแทนตามพระราชบัญญัติยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่ กาหนดให้การยางแห่งประเทศไทยส่งเสริมและสนับสนุนโดยจ่ายให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ตาม มาตรา 36 นั้น ทาให้เกิดความเหลื่อมล้า เกษตรกรที่ปลูกยางในที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองโดยไม่มี ชื่อใน เอกสารสิทธิ กรณีของผู้เช่าที่ดินของผู้อื่นเพื่อทาการเกษตรปลูกยางพารา เกษตรกรผู้นั้นก็จะไม่ สามารถขอการปลูกแทนได้เลย เพราะจะต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศ ไทย เรื่อง แบบและวิธีการยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน พ.ศ. 2558 ข้อ 4 (ค) คุณสมบัติของผู้ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน คือเกษตรกรผู้เช่าที่ดินเพื่อปลูก ยางพาราจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินก่อนจึงจะขอรับเงินทุนสนับสนุนการปลูกแทนได้ ดังนั้นหากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินก็จะไม่ได้รับสิทธิตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ ยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 จึงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสิทธิระหว่างเจ้าของที่ดินที่มี กรรมสิทธิ์ กับ ผู้ที่มีสิทธิครอบครองโดยสัญญาเช่า ว่าเกิดความเหลื่อมล้า ทั้งที่ผู้เช่าก็ชาระเงินตาม สัญญาเช่าก็เห็นสมควรที่จะให้ผู้เช่าได้รับสิทธิเช่นเดียวกับเจ้าของที่ดิน หากพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ ของมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 จะเห็นได้ว่ามีความตั้งใจที่จะ มุ่งเน้นให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางโดยเฉพาะ โดยเป็นการสงเคราะห์ทั้งระบบ ตั้งแต่ปลูก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3