2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

36 สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลใด ยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้สิทธิครอบครอง” การยึดถือครอบครอง ที่ดินที่ไม่มีโฉนดที่ดิน เช่น ที่ดินที่มี ส.ค.1 น.ส.3 น.ส.3ก น.ส.3ข หรือที่ดิน ที่ไม่มีหลักฐานอะไรเลย ผู้ครอบครองนอกจากจะยึดถือเพื่อตนแล้วยังคงความเป็นเจ้าของด้วย ที่ดินมือเปล่าไม่มีโฉนดไม่ สามารถมีกรรมสิทธิ์ได้คงมีได้เพียงสิทธิครอบครองจึงมีลาดับรองจากกรรมสิทธิ์ แต่เจ้าของที่ดินที่มี สิทธิครอบครองมีสิทธิใช้สอยและจาหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1335 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่น ท่านว่าแดน แห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพ้นดินและใต้พื้นดินด้วย มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย และจาหน่ายทรัพย์สิน ของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตาม และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจาก บุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวาง มิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบ ด้วยกฎหมาย คาพิพากษาฎีกาที่ 3751/2529 การที่จาเลยให้การว่า เมื่อน้าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่า บ้านพิพาทจากสานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโจทก์ได้ตกลงให้จาเลยเช่าช่วงบ้านพิพาท เช่นที่เคยปฏิบัติมาเมื่อครั้งน้าโจทก์ให้จาเลยเช่า โดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เช่นนี้เท่ากับจาเลยยอมรับว่า จาเลยอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของโจทก์ และแสดงว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครอง บ้านพิพาทจากสานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าแล้ว โจทก์จึงมีอานาจฟ้องขับไล่และ เรียกค่าเสียหายจากจาเลยได้ คาพิพากษาฎีกาที่ 3751/2529 แสดงให้เห็นว่าผู้เช่า ที่มีสิทธิครอบครองในบ้านที่พิพาทมีสิทธิ เหมือนกับเจ้าของบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ การที่ผู้เช่าให้เช่าช่วง กฎหมายก็ให้อานาจผู้เช่าว่าสามารถฟ้อง ขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าช่วงได้ แต่สิทธิของผู้เช่าหรือผู้อาศัยบุคคลอื่น ตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 นั้นผู้เช่าไม่มีสิทธิดีไปกว่า หรือเท่ากับผู้ให้เช่า เนื่องจากผู้เช่าหากมีความประสงค์จะยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนจะต้องได้รับความ ยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินก่อน ผู้เช่ามีสิทธิครอบครองที่ด้อยกว่าเจ้าของ กรรมสิทธิ์ แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้เช่า ในฐานะเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ตามกฎหมายไม่ให้ความเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ผู้เช่า ต่างจากกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เช่าอย่างเต็มที่ เช่น คาพิพากษาฎีกาที่ 3751/2529 ที่ให้อานาจของผู้เช่าในการดูแลและใช้สิทธิในทรัพย์สินที่ตนเองมีสิทธิครอบครองโดยสิทธิ นั้นไม่ จาเป็นต้องขออนุญาตจากผู้ให้เช่าที่มีกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3