2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
37 อริสโตเติล (Aristotle) ให้ทัศนะเกี่ยวกับทรัพย์สินว่าต้องยอมรับในกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเพราะ กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลก่อให้เกิดคุณค่าทั้งทางภาคเศรษฐกิจและศีลธรรม กล่าวคือ ในแง่เศรษฐกิจ กระตุ้นให้คนอยากทางานเพื่อเพิ่มพูนทรัพย์สินส่วนตัวให้มากขึ้น ขณะเดียวกันการมีทรัพย์สมบัติส่วน บุคคลทาให้แยกส่วนได้ส่วนเสียของคนในสังคมได้ชัดเจนกว่า และทาให้เกิดความขัดแย้งน้อยกว่าการ ให้ทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม ส่วนในแง่ศีลธรรมทรัพย์สมบัติส่วนบุคคลทาให้คนมีศักดิ์ศรีกล่าวคือ เมื่อมีทรัพย์สินส่วนตัวทาให้ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นเป็นตัวของตัวเองและทรัพย์สมบัติส่วนตัวสามารถ แบ่งปันให้บุคคลอื่น เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงคุณธรรมความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ในสังคม ฌอง โบแดง (Jean Bodin) มีความคิดสนับสนุนเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลโดย กล่าวไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินเพราะสิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิธรรมชาติและรัฐต้องให้การ รับรองและคุ้มครองในสิทธิดังกล่าวแก่ประชาชนด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายจากัดการใช้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ ในเมืองและชนบทเพื่อการต่าง ๆ เช่น เพื่อการคุ้มครองผู้เช่าที่เป็นเกษตรกรหรือเพื่อการอนุรักษ์สภาวะแวดล้อม เป็นต้น แม้จะ ปรากฏว่ามีการตรากฎหมายขึ้นเป็นจานวนมากเพื่อจากัดการใช้กรรมสิทธิ์ (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) 2.6 กฎหมายไทย ในการประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง รัฐได้ตรากฎหมายเพื่อควบคุมให้ ผู้ประกอบอาชีพ เกษตรกรชาวสวนยางได้ยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมาย ได้แก่ 2.6.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียม กัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทาง เศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทามิได้ มาตรการที่รัฐกาหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3