2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
45 อยู่แต่หากเป็นกรณีสัญญาเช่าสิ้นสุดลงศาลฎีกาก็ได้ตัดสินไว้เช่นกันว่าต้องไปใช้สิทธิทางศาล เพราะ ถึงแม้จะมีการตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าโดยชัดแจ้งว่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้า ครอบครองพื้นที่ที่เช่าและขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกไปได้ แต่อย่างไรก็ดีการที่ผู้ให้เช่ากลับเข้า ครอบครองพื้นที่เช่าและขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกไปด้วยตนเองทาให้ผู้เช่าได้รับความเสียหาย การกระทาของผู้ให้เช่าจึงเป็นการกระทาละเมิดต่อผู้เช่า การยกตัวอย่างฎีกานี้ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่ากฎหมายให้ความคุ้มครองสิทธิครอบครองใน ทรัพย์สินที่เช่าแก่ผู้เช่าในกรณีที่ทรัพย์สินที่เช่าถูกรบกวนการครอบครองทาให้ผู้เช่าได้รับความ เสียหายจากการกระทาของผู้ให้เช่าจึงเป็นการกระทาละเมิดต่อผู้เช่า แต่ก็ยังให้สิทธิผู้ให้เช่าที่มี กรรมสิทธิ์ว่าสามารถฟ้องขับไล่ได้หากผู้เช่าทาผิดสัญญาเช่าแต่ต้องใช้สิทธินั้นทางศาล เห็นได้ชัดว่า กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าอย่างเท่าเทียมกันและเกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรก็ดีความเท่าเทียมในทรัพย์สินที่เช่านี้ไม่ได้เกิดแก่ผู้เช่า ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ในการยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนที่กาหนดว่าหากผู้ เช่ามีความประสงค์จะยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการ ยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 จะต้องมีหนังสือขอความยินยอมจากผู้ให้เช่าด้วย หากพิจารณาแล้ว สิทธิในการยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนตามมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการ ยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เช่นตัวอย่าง คาพิพากษาฎีกาที่ 967/2506 สัญญาเช่าที่ดินย่อมครอบคลุมถึงต้นผลไม้ที่อยู่ในที่ดินที่เช่าด้วยหากผู้ให้เช่าที่ดินต้องการ สงวนไว้ใช้สอยเก็บกินส่วนตัวก็ชอบที่จะระบุไว้ในสัญญาเช่าให้ชัดเจน มิฉะนั้น ผู้เช่าที่ดินย่อมมีสิทธิ เก็บกินส่วนตัวก็ชอบที่จะระบุไว้ในสัญญาเช่าให้ชัดเจน มิฉะนั้นผู้เช่าที่ดินย่อมมีสิทธิเก็บกินผลไม้อัน เป็นดอกผลธรรมชาติของต้นผลไม้ได้ ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิหวงห้าม หากเปรียบเทียบฎีกาที่ 967/2506 กับการยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่อาจจะได้การสนับสนุนมาเป็น ไม้ยาง พันธ์ยาง หรือปุ๋ย เพื่อมาบารุงรักษา ยางพาราในสวนก็ถือว่าเป็นดอกผลที่ได้มาจากการทาสวนยางพาราของผู้เช่าเองไม่ได้มาจากที่ดินที่ตน เช่า ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าสิทธิในการยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 จึงไม่มีความจาเป็นที่จะต้องมีหนังสือขอความ ยินยอมจากผู้ให้เช่า แต่ผู้เช่าต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบถึงการยื่นขอรับทุน สนับสนุนให้มีการปลูกแทน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3