2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

46 บรรพ 4 ทรัพย์สิน มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นท่านว่า การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทาเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น นอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว มาตรา 1300 ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทนซึ่งผู้รับ โอนกระทาการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้ มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย และจาหน่าย ทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตาม และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของ ตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวาง มิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดย มิชอบด้วยกฎหมาย เหตุผลที่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ทรัพย์สิน เนื่องจากเห็นว่า ทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน บุคคลนั้นจะได้รับความ คุ้มครองตามกฎหมาย ตามมาตรา 1299 มาตรา 1300 และมาตรา 1336 ที่กล่าวว่าภายในบังคับแห่ง กฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย และจาหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สิน นั้น กับทั้งมีสิทธิติดตาม และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิ ขัดขวาง มิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามบรรพ 4 ทรัพย์สิน จะให้ความคุ้มครองผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นหลัก คือการมีทรัพยสิทธิ ขอยกตัวอย่างคาพิพากษา ศาลฎีกา ดังนี้ คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 18830/2557 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าครอบครองทา ประโยชน์ในที่ดินพิพาทไม่ได้ เนื่องจากจาเลยจ้างคนงานมาสร้างรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาทปิดกั้น ทางเข้าออกของโจทก์สู่ทางสาธารณะนั้น ย่อมเป็นการรอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดาเนินคดีแก่ จาเลย โดยยื่นคาฟ้องพร้อมกับคาร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่า คือการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาร่วมเป็น โจทก์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 ดังนั้นศาลชั้นต้น ชอบที่จะเรียกการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3