2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
47 จากกรณีปัญหาแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้เช่าได้ถูกรบกวนการครอบครอง เพราะไม่ สามารถเดินทางเข้าออกทางสาธารณะในที่ดินที่ตนเช่าได้เพราะการกระทาของจาเลยที่จ้างคนงานมา สร้างรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาทผู้เช่าจึงมีสิทธิดาเนินคดีแก่จาเลยโดยยื่นคาฟ้องพร้อมกับคาร้องขอให้ เรียกการรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ให้เช่าเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีสิทธิเท่าเทียมกันใน การดาเนินคดีฟ้องร้องแก่จาเลย ดังนั้นในประเด็นของการขอทุนปลูกแทน ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่กาหนดสิทธิของผู้เช่าในการยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนโดยผู้ เช่าจะต้องมีหนังสือขอความยินยอมจากเจ้าของสวนยางด้วยนั้นทาให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้เช่า เกินไป อย่างตัวอย่างฎีกาที่ 18830/2557 กฎหมายให้ความคุ้มครองและสิทธิของผู้เช่าอย่างเต็มที่เท่า เทียมกับผู้ให้เช่าผู้เช่าสามารถใช้สิทธิในการฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย ผู้วิจัยจึงอยากให้สิทธิของผู้เช่าที่ เป็นบุคคลสิทธิมีสิทธิเท่ากับเจ้าของสวนยางที่เป็นทรัพยสิทธิในเรื่องของการขอทุนปลูกแทนเพื่อให้ผู้ เช่าสามารถยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนได้อย่างเต็มที่ คาพิพากษาฎีกาที่ 3751/2529 การที่จาเลยให้การว่าเมื่อน้าโจทก์เป็นผู้เช่าเดิมถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่า บ้านพิพาทจากสานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโจทก์ได้ตกลงให้จาเลยเช่าช่วงบ้านพิพาท เช่นที่เคยปฏิบัติมาเมื่อครั้งน้าโจทก์ให้จาเลยเช่าโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เช่นนี้เท่ากับจาเลยยอมรับว่า จาเลยอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของโจทก์และแสดงว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครอง บ้านพิพาทจากสานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าแล้วโจทก์จึงมีอานาจฟ้องขับไล่และ เรียกค่าเสียหายจากจาเลยได้ คาพิพากษาฎีกาที่ 3751/2529 แสดงให้เห็นว่าผู้เช่าที่มีสิทธิครอบครองในบ้านที่พิพาทมี สิทธิเหมือนกับเจ้าของบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ การที่ผู้เช่าให้เช่าช่วงกฎหมายก็ให้อานาจผู้เช่าว่าสามารถ ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าช่วงได้แต่สิทธิของผู้เช่าตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 นั้นผู้เช่าไม่มีสิทธิดีไปกว่าหรือเท่ากับผู้ให้เช่าที่มีกรรมสิทธิ์ เนื่องจากผู้เช่าหากมีความประสงค์จะยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนจะต้องได้รับความ ยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินก่อนผู้เช่ามีสิทธิครอบครองที่ด้อยกว่าเจ้าของ กรรมสิทธิ์ แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้เช่าในฐานะเกษตรกรชาวสวนยางตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ตามกฎหมายไม่ให้ความเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ผู้เช่าต่างจากกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เช่าอย่างเต็มที่ เช่น คาพิพากษาฎีกาที่ 3751/2529 ที่ให้อานาจของผู้เช่าในการดูแลและใช้สิทธิในทรัพย์สินที่ตนเองมีสิทธิครอบครองโดยสิทธินั้นไม่ จาเป็นต้องขออนุญาตจากผู้ให้เช่าที่มีกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3