2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
48 2.7 กฎหมายต่างประเทศ 2.7.1 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับ 2 ของโลกรองจาก ไทย ในปี 2555 มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 3.46 ล้านเฮกตาร์ ให้ผลผลิต 3.07 ล้านตัน พื้นที่ที่ปลูกมาก อันดับ 1 คือ เกาะสุมาตรา รองลงมา คือ กาลิมันตัน และจัมบี้ ผลผลิตยางธรรมชาติส่วนใหญ่ได้มา จากเกษตรกรรายย่อย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ที่เหลือเป็นของผู้ประกอบการรายใหญ่และพื้นที่ของ รัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 และ 7 ตามลาดับ โดยผลผลิตประมาณร้อยละ 90 จะถูกนาไปแปรรูปเป็น ยางแท่งเพื่อส่งออกไปยังตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย (Smallholders) เกษตรกรรายย่อย เกษตรกรกลุ่มนี้จะมีข้อจากัดในเรื่องเงินทุนมีเงินทุนน้อยหรือไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2016) การปลูกจึงมีลักษณะแบบสวนป่ากล้ายางที่ใช้ยังเป็นพันธุ์ เก่า ทาให้มีผลิตภาพการผลิต (Productivity) ค่อนข้างต่า จากข้อมูลของสมาคมยางพาราอินโดนีเซีย (Gapkindo) สาธารณรัฐอินโดนีเซียมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 880-1,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ในขณะที่ ไทยและสหพันธรัฐมาเลเซียมีผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 1,500 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ เนื่องจากขาดการ ลงทุนปลูกทดแทนต้นยางเก่าที่เสื่อมสภาพซึ่งให้น้ายางน้อยและขาดการพัฒนาสายพันธุ์ ทาให้ผลผลิต ยางธรรมชาติที่ได้จึงมีน้อยและคุณภาพต่า เกษตรกรต้องยอมขายผลผลิตในราคาที่ต่าตามไปด้วย (กฤษณี พิสิฐศุภกุล, 2556) กฎหมายสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉบับที่ 39 ปี 2014 เกี่ยวกับพื้นที่เพาะปลูก ข้อที่ 11 (1) ผู้ประกอบธุรกิจการเพาะปลูกสามารถได้รับสิทธิในที่ดินสาหรับธุรกิจการเพาะปลูก ตามบทบัญญัติของกฎหมาย (2) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของพื้นที่ป่าของรัฐหรือที่ดินรกร้างรัฐบาลกลาง สามารถโอนสถานะของฐานสิทธิให้กับชาวไร่ได้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย เหตุผลที่ยกกฎหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉบับที่ 39 ปี 2014 เกี่ยวกับพื้นที่ เพาะปลูก เพราะกฎหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ข้อที่11 (2) กาหนดว่าในกรณีที่มีการ เปลี่ยนแปลงสถานะของพื้นที่ป่าของรัฐหรือที่ดินรกร้างรัฐบาลกลางสามารถโอนสถานะของฐานสิทธิ ให้กับชาวไร่ได้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย เท่ากับว่าเกษตรกรที่ทาการเพาะปลูกในพื้นที่ป่าของรัฐ หรือที่ดินรกร้าง รัฐบาลกลางสามารถโอนสถานะของฐานสิทธิให้กับเกษตรกรผู้นั้น ได้ตามบทบัญญัติ ของกฎหมาย ต่างกับประเทศไทย ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ประกอบประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่องแบบและวิธีการยื่นคาขอรับการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน พ.ศ. 2558 หลักเกณฑ์ในการขอทุนปลูกแทนที่ดินดังกล่าว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3