2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

49 จะต้องไม่เป็นที่ดินหวงห้ามของทางราชการหรืออยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตอุทยานแห่งชาติ หรือป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติกาหนดไว้ ให้เป็นป่าถาวรอันเป็นสมบัติของชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากหน่วยราชการผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้มีสิทธิทากินหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทาประโยชน์หรืออยู่อาศัย ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวเพื่อการทาสวนยาง (สานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวน ยางอาเภอเมืองนครศรีธรรมราช, 2560) แสดงให้เห็นว่ากฎหมายของประเทศไทยไม่ให้สิทธิเกษตรกร ในการทาประโยชน์ในที่ดินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้มี สิทธิทากินหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทาประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว เพื่อการทาสวนยาง แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิทธินั้นก็เป็นเพียงสิทธิชั่วคราวเพื่อการทาสวนยางเท่านั้นแต่ กฎหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รัฐบาลกลางสามารถโอนสถานะของฐานสิทธิ ให้กับเกษตรกรผู้ นั้น ได้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย ถือว่าสิทธินั้นเป็นสิทธิของเกษตรกรผู้นั้น ไม่ใช่สิทธิเพียงชั่วคราว 2.7.2 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งหมดประมาณ 6 ล้านไร่ โดย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูกยางพารามากที่สุดในโลก พื้นที่ เพาะปลูกยางพาราของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2553 ส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นผลจากการที่ราคายางพารามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปี 2552 ถึง ปี 2554 ส่งผลให้หลายประเทศในแถบทวีปเอเชียหรือทวีปอื่นที่มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการ ปลูกยางได้เพิ่ม พื้นที่เพาะปลูกยางมากขึ้น ภาคเศรษฐกิจที่สาคัญของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้แก่ ภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม เกษตรกรรมที่สาคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย ป่าไม้ และการประมง อุตสาหกรรมที่สาคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์ยาง การทาเหมืองแร่ อาทิ ถ่านหิน น้ามันปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ เป็นต้น (สถาบันพลาสติก, 2565) ตามกฎหมายว่าด้วยองค์การของรัฐบาล การปรับโครงสร้างภาคเกษตรในช่วงปี 2564 - 2568 (แนบมติเลขที่ 255/QD-TTG ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ของนายกรัฐมนตรี) บังคับใช้ข้อสรุปหมายเลข 54-KL/TW ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2019 ของ Politburo ว่าด้วย การดาเนินการตามมติหมายเลข 7 ของคณะกรรมการกลางด้านการเกษตร เกษตรกร และพื้นที่ ชนบท และมติหมายเลข 01/NQ- CP เมื่อวันที่ 1 มกราคม ของภาครัฐ พ.ศ. 2563 ว่าด้วยภารกิจ หลักและแนวทางในการดาเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการประมาณ การงบประมาณของรัฐในปี พ.ศ. 2563 นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้แผนการปรับโครงสร้างภาค เกษตรกรรมระยะเกษตร พ.ศ. 2564 - 2568 โดยมีเนื้อหาดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3