2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
52 2.7.3 สหพันธรัฐมาเลเซีย อุตสาหกรรมยางพารายังคงมีบทบาทสาคัญต่อเศรษฐกิจของสหพันธรัฐมาเลเซีย ในอดีต สหพันธรัฐมาเลเซียเคยเป็นประเทศที่ผลิตยางพาราสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกแต่ในปัจจุบันได้ กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสี่ของโลกจากการลดพื้นที่เพาะปลูกอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตเช่น สภาพภูมิอากาศแปรปรวน การขาดแคลนแรงงานและรัฐบาลออกนโยบาล ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นแทน เป็นต้น สหพันธรัฐมาเลเซียมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ยางโดยมีการส่งเสริมและให้ความสาคัญการวิจัยและพัฒนาด้วยการสนับสนุนเงินทุนสาหรับการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางเพื่อ ให้ เป็น High-tech high valued-added engineering and industrial products การสนับสนุนเงินทุนดังกล่าวมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการมีการดาเนินงานด้าน การวิจัยด้วยตนเอง (in-house R&D) เพื่อพัฒนาการผลิตและออกแบบสินค้า สร้างสินค้าใหม่ และ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยสหพันธรัฐมาเลเซียมี Malaysian Rubber Board (MRB) เป็นหน่วยงานหลัก ที่มีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง ทั้งระบบของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย The Malaysian Rubber Council (MRC) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า สภายางแห่งมาเลเซีย โดยมีหน้าที่ในเรื่องของการมีส่วน ร่วมในการส่งเสริมยางและผลิตภัณฑ์ยางของสหพันธรัฐมาเลเซียในตลาดโลก (Rubber, 2020) ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอาเซียนเพราะปลูกเกือบทั้ง 10 ประเทศ ในจานวน การผลิตยางพาราโลกผลิตปีละ 12 ล้านตัน เป็นของอาเซียน 90% ในปี 2558 ไทยผลิตยางพาราได้ 4.3 ล้านตัน บนพื้นที่ 19 ล้านไร่ ผลผลิตอยู่ที่ 257 กิโลกรัม (กก.) ต่อไร่ สหพันธรัฐมาเลเซียผลิตได้ 7 แสนตันมีพื้นที่เพาะปลูก 6 แสนไร่ ผลผลิต 220 กก./ไร่ ที่น่าสนใจคือสหพันธรัฐมาเลเซียเพาะปลูก และผลิตยางพาราน้อยที่สุดในอาเซียน แต่มีเป้าหมายอุตสาหกรรมแตกต่างจากประเทศอื่น คือ สหพันธรัฐมาเลเซียประกาศว่าจะเป็น “ศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยางพาราของโลก” เน้นการผลิต อุตสาหกรรมปลายน้า ได้แก่ ถุงมือยาง ยางรถยนต์ กาว หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สหพันธรัฐมาเลเซียได้ บริหารจัดการอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ ปัจจุบันสหพันธรัฐมาเลเซียมีชาวสวนยาง 4 แสนคน เกษตรกรรายย่อยมีเนื้อที่ปลูกยางพาราไม่เกิน 250 ไร่ คิดเป็น 95% ที่เหลือเป็นรายใหญ่ 5% เกษตรกรรายย่อยจะมีหน่วยงานของรัฐดูแล ได้แก่ FELDA (Federal Land Development Authority) ที่จัดสรรที่ดินทากินและดูแลเกษตรกรรายย่อยในชนบท เพื่อปลูกยางพาราและปาล์มราย ละ 25-36 ไร่ และตั้งบริษัท Felda Global Venture Holding Sdn. Bhd เพื่อนายางพาราออกไป ขายในตลาดโลก นอกจากนั้น ยังสร้างโรงเรียน ศูนย์พยาบาล และการจ้างงาน โดย RISDA (Rubber Industry Smallholders Development Authority) ทาหน้าที่พัฒนาชาวสวนยางให้เข้มแข็ง สร้าง อาชีพเสริม เช่น เลี้ยงแพะ เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว และนกกระจอกเทศ และหน่วยงาน FELCRA (Federal Land Consolidation and Rehabilitation Authority Berhad) ทาหน้าที่ฟื้นฟูที่ดินและ จัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นต้น (บุญญานุช เริ่มภักดี, 2559)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3