2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
56 กลุ่มอาชีพที่ควรได้รับ อีกทั้งยังคุ้มครองสิทธิในการทางาน ในการเลือกงานโดยอิสระ โดยจะได้รับ ค่าจ้างที่เท่าเทียมกันสาหรับงานที่เท่าเทียมกัน และเอื้ออานวยต่อการประกันความเป็นอยู่ ได้รับการ คุ้มครองทางสังคมในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมทาให้ได้รับความเท่าเทียมอย่างเสมอภาคไม่เพียงแต่ในด้าน ของการคุ้มครองสิทธิ เท่านั้นยังให้สิทธิในมาตรฐานการครองชีพในด้านของสุขภาพ และความอยู่ดี ของครอบครัวผู้ประกอบอาชีพอีกด้วย เช่น ด้านของอาหาร ที่อยู่อาศัย และบริการสังคมที่จาเป็น เป็นต้น ผู้วิจัยเห็นว่ากฎหมายได้บัญญัติไว้กว้างเกินไป ในทางความเป็นจริงไม่สามารถดูแลทุกกลุ่ม อาชีพได้อย่างเท่าเทียมกัน เพราะแต่ละอาชีพมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้วิจัยเห็นสมควรให้ มีการบัญญัติในด้านการคุ้มครองสิทธิแต่ละกลุ่มอาชีพแยกเป็นประเภทให้มีความชัดเจนมากกว่านี้จะ ได้เกิดความเท่าเทียมและตอบสนองความต้องการของกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่า ให้ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกันกับเจ้าของสวนในเรื่องของสิทธิในการขอทุนเพื่อการปลูกแทนเนื่องจาก เจ้าของสวนและผู้เช่าต่างก็ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรเหมือนกัน ดังนั้นควรได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม กันภายใต้กฎหมายเดียวกันอย่างแท้จริง งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิจัยเรื่อง “มาตรการทางกฎหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่า” มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของงานวิจัยดังนี้ เรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดย : (ศุภธัช ศรีวิพัฒน์, 2564) ประเทศไทยผลิตยางพาราได้เป็นอันดับ 1 ของโลกจึงส่งผลให้ยางพาราและการผลิตผลจาก ยางพาราในประเทศ มีความสาคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจึงจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อ ควบคุมดูแลในการผลิตยางพารา คือ กองการยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐบาลได้มีการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยขึ้นมา เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรกลาง โดยทา หน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพาราของประเทศทั้งระบบ มีเอกภาพ ความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ปฏิรูป บริหารจัดการ วิจัยและพัฒนา รักษาเสถียรภาพราคา ยางพารา การดาเนินธุรกิจและการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของ เกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการการยา ง จึงตรา พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ทาหน้าที่กาหนดนโยบาย จัดหาเงินทุน วางแผน ดาเนินงาน เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ และทิศทางการดาเนินงานทั้งระบบ จะเป็น ประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก ข้อดีของการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นองค์กรใน การดูแลอุตสาหกรรมยาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3