2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

57 การจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยทาให้อุตสาหกรรมยางทั้งระบบได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ต้นน้า จนถึงปลายน้า แต่บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย ยังคงเกิดปัญหาในการบริหารงานต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ส่งออก เพราะการตรา พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายที่บูรณาการการทางานของสาม หน่วยงาน ได้แก่ สานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และ สถาบันวิจัยยาง (สวย.) กรมวิชาการเกษตร รวมทั้งสามองค์กรเป็น การยางแห่งประเทศไทย มีสถานะ เป็นนิติบุคคล ในการบริหารงานหรือการกาหนดนโยบาย ส่งผลให้บทบัญญัติในพระราชบัญญัติการ ยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เกิดปัญหาในการบังคับใช้ทาให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายขาด ความเป็นหนึ่งเดียวและการยังไม่เข้าใจถึงพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 จากการศึกษาบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 พบว่า บทบัญญัติของกฎหมายที่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้ ดังนี้ 1. การจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยเกิดจากการยุบรวมสามองค์กรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 การยุบรวมองค์กรบางหน่วยงานส่งผลให้การยาง แห่งประเทศไทยดาเนินการคุ้มครองสิทธิเกษตรกรผู้ประกอบการได้อย่างล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ 2. การกาหนดคานิยามเกี่ยวกับยางพันธุ์ดีมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เกิดปัญหาในการตีความเกี่ยวกับลักษณะยางพันธุ์ดีตามที่กฎหมายรับรอง ส่งผลให้ผู้ปลูก ยางผู้ส่งออกยางเกิดความสับสนในการปฏิบัติตามกฎหมาย 3. ปัญหาการประกอบกิจการของการยางแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภท รัฐวิสาหกิจมีอานาจหน้าที่ตามที่กาหนดไว้ในมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2558 การกาหนดอานาจให้การยางแห่งประเทศไทยผู้ประกอบธุรกิจขายยางอาจก่อให้เกิด การขาดความยุติธรรมและเป็นธรรมแก่เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ส่งออก 4. การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ทาให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก การโค่นไม้ยางพารา แต่หลักเกณฑ์ที่กาหนดในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2558 กาหนดเงื่อนไขที่ส่งผลให้เกษตรกรบางกลุ่มไม่ได้รับสิทธิในการปลูกแทน 5. การเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง ตามมาตรา 47 ทาให้เกิดภาระหน้าที่แก่เกษตรกร และผู้ ส่งออกยาง เป็นต้น ปัญหาที่ 4 มีความเกี่ยวข้องคล้ายคลึงกับงานวิจัยในประเด็นเรื่องของสิทธิในการปลูกแทนที่การ ส่งเสริมและการสนับสนุนการปลูกแทนกฎหมายกาหนดเกี่ยวกับการส่งเสริมและการสนับสนุนการ ปลูกแทน มีหลักเกณฑ์ตาม มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 39 ดังต่อไปนี้ 1. เกษตรกรชาวสวนยางผู้ใดมีสวนยางตั้งอยู่บนที่ดินที่ตนเองสิทธิครอบครอง หากประสงค์จะ ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ให้ยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนต่อการยาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3