2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
59 ในประเด็นของการขอทุนปลูกแทน ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 แต่ งานวิจัย เรื่อง “มาตรการทางกฎหมายในการช่วยเหลือเกษตรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่า” ได้เจาะจง ไปยังสิทธิของผู้ครอบครองกรณีของผู้เช่า โดยตรง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันตาม กฎหมาย หากผู้เช่าได้รับสิทธิในการขอทุนปลูกแทนตามสัญญาเช่าที่ดิน แม้ไม่มีชื่อการเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ในเอกสารสิทธิ แต่สิทธินั้นได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะได้ทาสัญญาเช่าที่ดินกับ เจ้าของสวนและได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรเรียบร้อยแล้ว การยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนก็ จะมีจานวนที่เพิ่มมากขึ้น และยังสามารถช่วยเหลือเกษตรกรกรณีผู้ครอบครองให้ได้รับสิทธิและไม่เสีย สิทธิตามกฎหมาย เรื่อง: การวิเคราะห์ประเด็นอุปสรรคทางกฎหมายและระเบียบที่มีต่อระบบยางพาราไทยและ การพัฒนาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข โดย : (อัจฉรา จันทน์เสนะ, 2563) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการ แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และน โยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบยางพาราของประเทศไทย เกิดจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ที่ ยังไม่มีความเคร่งครัดการบริหารจัดการตามพระราช บัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ขาดความคล่องตัว ภายใน เพราะเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากการควบรวมหน่วยงานที่แตกต่างกันและมีกฎหมายและ พระราชบัญญัติอื่นเป็นอุปสรรคต่อการเกื้อหนุนอุตสาหกรรมยางพารางานวิจัยนี้จึงเสนอให้ทาการ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยการบัญญัติให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาการตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยและเป็นประธานคณะกรรมการการยางแห่ง ประเทศไทยด้วย เพื่อการบริหารงานที่มีเอกภาพ หน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยยางพารา ควรขึ้นตรงกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โครงสร้างการกากับดูแลโดยรัฐบาล และส่วนราชการ ต่างๆที่มีต่อการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ควรได้รับการแก้ไข คนกรีดยางควรได้รับการพัฒนา อย่าง เป็นระบบตามประเภทของเกษตรกรชาวสวนยางและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุน พัฒนายางพาราควรได้รับการแก้ไขให้เกิดการบริหารงานอย่างคล่อง ตัวและคุ้มครองให้ครอบคลุมถึง เกษตรกรที่ปลูกยางพาราใน ที่ดินที่ตนไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางพารา มีมูลค่าการส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกประกอบด้วยประเทศ ไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสหพันธรัฐมาเลเซีย ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ หนึ่งของโลกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ในรูปของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยางพาราแปรรูปและผลิตภัณฑ์ ไม้ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทยยังไม่สามารถเติบโตและมีการพัฒนา ได้อย่าง น่าพอใจ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากสาเหตุสาคัญดังต่อไปนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3