2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

60 1. กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพดังมีสาเหตุหลายประการ เช่น 1.1 ภาครัฐมิได้นาพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 และ พระราชบัญญัติการยางแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายหลักที่นามาควบคุมและสนับสนุนการยางพาราในประเทศไทย มาบังคับใช้เพื่อทาให้เกิดระบบการพัฒนายางพาราอย่างครบวงจรและนามาดาเนินการแก้ไข ปัญหา ราคายางตกต่าในทางกลับกันภาครัฐกลับใช้นโยบายด้านการแทรกแซงราคา 1.2 บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 กาหนดให้มีการตรวจสอบและ ติดตามวัสดุปลูกและการค้าขายยางพาราให้ทันกับสถานการณ์ตามที่กฎหมายกาหนด ไม่มีการบังคับ ใช้และลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงถูกเอาเปรียบในด้านราคา และทาให้การบริหารจัดการระบบยางพาราของไทยขาดประสิทธิภาพ 1.3 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาเหตุ ดังนี้ เช่น 1.3.1 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นหน่วยงานควบคุมและส่งเสริมการดาเนิน ธุรกิจยางพารา ได้จัดตั้งขึ้นภายหลังแต่มีภารกิจและปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นกว่าสานักงานกองทุน สงเคราะห์การทาสวนยาง เป็นหน่วยงานเดิมที่มีอานาจในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการส่งออก ยางพารา และมีจานวนบุคลากรที่โอนย้ายมาจากการรวมของ 3 หน่วยงาน ในขณะที่องค์กรสวนยาง เป็นหน่วยงานที่โอนย้ายมารวมกับการยางแห่งประเทศไทยด้วยเป็นหน่วยธุรกิจที่มีหน้าที่จัดหารายได้ ให้กับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อสมทบเข้ากองทุนพัฒนายางพารายังไม่สามารถทารายได้ ให้กับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ประการสาคัญ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ยังไม่มีรายได้ จากการดาเนินธุรกิจและไม่ได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอ ด้วยเหตุนี้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่และดาเนินนโยบายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติ การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้ 1.3.2 บทบัญญัติของมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ทาให้เกิดปัญหาในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง กล่าวคือในการพิจารณาให้สิทธิขอทุนปลูก ยางพาราทดแทนจากกองทุนพัฒนายางพาราตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2558 บทบัญญัติของมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ให้สิทธิดังกล่าวแก่เกษตรกรที่มีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ได้รับสิทธิตาม มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยาง แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เป็นต้น 2. นโยบายที่จัดทาโดยภาครัฐขาดการวางแผนขาดการประสานงานอย่างใกล้ชิดของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและก่อให้บทบาทความรับผิดชอบที่ซ้าซ้อนกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3