2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

61 โดยในประเด็นการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกแทนตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการ ยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่กาหนดสิทธิไว้สาหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่มีสวนยางมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิหรือเป็นที่ดินที่ไม่มีสิทธิครอบครองโดย ชอบ ด้วยกฎหมาย เกษตรกรกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุน จาก กยท. ปัญหาการ ปลูกแทนตามมาตรา 36 กยท. ไม่สามารถผลักดันด้วยใช้อานาจตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติ การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ เกษตรกรที่เข้าไปอาศัยและทา ประโยชน์ในที่ดินของรัฐในเขตป่าสงวน แห่งชาติ 21 ได้รับการช่วยเหลือจาก กยท. เพื่อทาการปลูก แทนต้นยางเก่าที่หมดอายุได้เพราะสิทธิตามมาตรา 36 กาหนดให้สาหรับที่ดินของเกษตรกรชาวสวน ยางที่มีเอกสารสิทธิหรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น และได้ให้ข้อเสนอแนะ ทบทวน แก้ไขมาตรา 36 ให้เกษตรกรที่มีสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน แต่ที่ดินมิได้อยู่ในเขตป่าสงวน แห่งชาติมีสิทธิในการขอปลูก ยางพาราแทนตามมาตรา 36 ทั้งนี้การแก้ไขมาตรา 36 จะต้องไม่ขัดแย้ง กับ วิธีปฏิบัติของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน แนวทางแก้ไขปัญหาตามมติครม. 22 ธันวาคม 2558 และ 26 พฤศจิกายน 2561 วิเคราะห์วิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ประเด็นอุปสรรคทางกฎหมายและระเบียบที่มีต่อระบบยางพาราไทย และการพัฒนาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข เมื่อนามาปรับใช้กับงานวิจัยเรื่อง “มาตรการทางกฎหมาย ในการช่วยเหลือเกษตรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่า” จะเห็นได้ว่า ทั้งสองงานวิจัยมีความประสงค์จะ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่ใช่เจ้าของสวนยางที่มีกรรมสิทธิ์ ในการขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทน แต่จะต่างกันตรงที่ งานวิจัยเรื่อง “มาตรการทางกฎหมายในการช่วยเหลือเกษตรชาวสวนยาง ใน ฐานะผู้เช่า” นั้นได้เล็งเห็นว่าผู้เช่านั้นแม้จะมีสิทธิครอบครองแต่ก็ไม่ได้สามารถขอทุนปลูกแทนได้เลย ทันที แม้จะให้สิทธิตามกฎหมายว่าสามารถขอได้ แต่สิทธิดังกล่าวนั้น กลับไม่เท่าเทียมกันกับ เกษตรกรผู้เป็นเจ้าของสวน เนื่องจากผู้เช่าจะต้องได้รับหนังสือยินยอมจากเจ้าของสวนผู้มีเอกสารสิทธิ ในที่ดินที่ตนเช่าก่อน จึงจะยื่นเอกสารขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนได้ เรื่อง: ความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย : (วิไลวัลย์ แก้วตาทิพย์, 2560) เศรษฐกิจสามจังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่มาจากการเกษตรเป็นสาคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทา สวนยางพารา ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส มีเนื้อที่ปลูกยางรวมกันประมาณ 2,614,025 ไร่ คิดเป็น 28% ของเนื้อที่ จานวนครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางมี 163,143 ชีวิตความเป็นอยู่ของ คนส่วนใหญ่อาศัยรายได้จากการทาสวนยางเป็นหลัก ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการทาสวนยางของเกษตรกรเป็นอันมากหากแต่เกษตรกรเมื่อเกิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3