2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
62 ปัญหาอื่น ๆ สมทบด้วยย่อมมีผลกระทบ จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่าชาวสวนยางประสบกับ ปัญหาโรคแมลงศัตรูและความไม่แน่นอนของราคายาง อย่างไรก็ตามนอกจากปัญหาดังกล่าวยังไม่ ทราบข้อมูลที่แน่นอนว่าชาวสวนยาง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสบปัญหา อื่น ๆ ด้วย หรือไม่ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อวิเคราะห์ระดับปัญหาแต่ละด้านที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้รับผลกระทบและวิเคราะห์ความ ความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่ทาให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มี ระดับปัญหาที่ต่างกัน เพื่อชี้ให้เห็นว่าปัญหาที่ต่างกันเกิดขึ้นจากสาเหตุหรือปัจจัยต่างกันผลการวิจัย โดยเฉพาะการเปรียบเทียบตัวแปรที่ทาให้เกษตรกรเกิดปัญหาต่างกันจะเป็นข้อมูลสาคัญต่อผู้มีส่วน เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาให้กับเกษตรชาวสวนยางในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สอดคล้องกับ ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งชาวสวนยางในพื้นอื่น ๆ สามารถศึกษาข้อมูลและนาไปประยุกต์ใช้ตาม ความเหมาะสม วิธีการศึกษาใช้การวิจัยโดยการสารวจข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรถือกรรมสิทธิ์เป็น เจ้าของสวนยางพาราหรือเป็นลูกจ้างทาสวนยางพาราในจังหวัดยะลา ปัตตานี แล ะนราธิวาส เนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ( Convenience sampling) จานวน 2 ครั้ง ถามเกี่ยวกับปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นในการทาสวนยางโดยใช้แบบ สัมภาษณ์ จากนั้นนาคาตอบที่ได้ทั้งหมดมาจัดหมวดหมู่สร้างเป็นแบบสอบถามปลายปิดและ ปลายเปิดเพื่อเก็บข้อมูลซ้าอีกครั้ง กลุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 ขอความช่วยเหลือจากนักศึกษาในกลุ่มเรียน เดียวกันนี้นาแบบสอบถามที่ปรับแล้วไปเก็บข้อมูลกับผู้ปกครองหรือญาติหรือเพื่อนบ้านอีกครั้ง โดย นักศึกษา 1 คน เก็บข้อมูลกับเกษตรกร ชาวสวนยางพารา 10 คน นักศึกษาในกลุ่มเรียน จานวน 44 คน เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 440 รายแต่จานวนแบบสอบถามที่สมบูรณ์นามาวิเคราะห์ข้อมูลได้ เพียง 395 ชุด ลักษณะแบบสอบถามในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกถามข้อมูลทั่วไปของ เกษตรกร และส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัญหาในการทาสวนยางพารา 5 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยและสิ่งที่ เอื้อต่อการผลิตและการจัดการ 2) เศรษฐกิจชาวสวนยาง 3) สภาพการณ์ในชุมชน 4) โรคและแมลงศัตรูและ 5) สภาพทางภูมิศาสตร์และธรรมชาติ รวมทั้ง มีคาถามปลายเปิดให้ระบุปัญหาอื่น ๆ ผลการศึกษาในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรสวนยางพารา ส่วนที่ 2 ระดับปัญหาของเกษตรกรสวนยางพารา ส่วนที่ 3 ความแตกต่างของระดับปัญหาที่เกษตรกร สวนยางพาราประสบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3