2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคาตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ มาตรการ ทางกฎหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่าของประเทศไทย โดยคาตอบ ดังกล่าวนี้ย่อมจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ตามวิธีการวิจัย ( Research Methodology) ที่กาหนดไว้ ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลและ การวิเคราะห์หาคาตอบ จึงได้กาหนด ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัย มีวัตถุประสงค์ที่จะนามาวิเคราะห์เพื่อให้เกิด การคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่า เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความเสมอ ภาคความเท่าเทียมภายใต้รัฐธรรมนูญและเพื่อช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางของไทยประกอบอาชีพได้ อย่างยั่งยืนโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกาหนดประเภทของเอกสารและประเด็น ที่ ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนี้ รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง พ.ศ. 2503 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เช่าทรัพย์ และ บรรพ 4 ทรัพย์สิน พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรมที่เป็นหลักการ แนวคิด และทฤษฎี รวมทั้งรายงานวิจัย ตารา และบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มามีทั้งข้อมูล ปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองสิทธิ ของเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่า เอกสารที่ทบทวนและวิเคราะห์นั้นได้กาหนดประเด็นหัวข้อ ดังนี้ 3.1.1 หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ในการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวน ยาง ที่นามาใช้ประกอบการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 1. หลักการว่าด้วยความเสมอภาค 2. หลักการพึ่งพาตนเอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3