2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

67 3. แนวคิดการสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง 4. ทฤษฎีความเหลื่อมล้า 5. ทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน 3.1.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนี้ 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2. พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 3. พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง พ.ศ. 2503 4. พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เช่าทรัพย์ และ บรรพ 4 ทรัพย์สิน 3.1.3 กฎหมายต่างประเทศ 1. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 2. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 3. สหพันธรัฐมาเลเซีย 3.1.4 กฎหมายระหว่างประเทศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนวิธีการในการเก็บข้อมูล ซึ่ง การศึกษานี้กาหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) 3.2.1 สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ เกษตรกร ชาวสวนยางที่มีกรรมสิทธิ์ คือเจ้าของสวน และเกษตรกรชาวสวนยางที่มีสิทธิครอบครอง คือผู้เช่า และหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าที่กองทุน สงเคราะห์การทาสวนยางจังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่กาหนดไว้ล่วงหน้า และ ดาเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เป็นแบบไม่มีพิธี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3