2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
บทที่ 4 ผลการวิจัย ประเทศไทยมีระบบในการคุ้มครองเกษตรกรชาวสวนยาง โดยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับ การยางแห่งประเทศไทย แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้บัญญัติให้จัดตั้ง “กองทุนพัฒนายางพารา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนา ยางพารา โดยผู้ที่จะได้รับประโยชน์ได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้ 1. สามารถขอรับการส่งเสริมสนับสนุนและความช่วยเหลือเพื่อการปลูกแทน (เงินสงเคราะห์สวนยาง เดิม) 2. สามารถขอรับการส่งเสริมในด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การผลิต การแปรรูป ยางพารา/ไม้ยาง ตามวิธีการที่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กาหนด 3. ได้รับการจัดสวัสดิการ ตามที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กาหนด และ 4. ได้รับความช่วยเหลือจากการยางแห่งประเทศ ไทย (กยท.) ในการรวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นต้น การศึกษาและวิจัยมีวัตถุประสงค์ ในการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร ชาวสวนยาง ในการขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยาง แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ในฐานะผู้เช่า ที่กาหนดหลักเกณฑ์ไว้แตกต่างจากเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะเจ้าของสวนว่าเกิดความเหลื่อมล้าความไม่เท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกันหรือไม่ ภายใต้ กฎหมายแห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ประกอบกับประกาศ คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยเรื่องแบบและวิธีการยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มี การปลูกแทน พ.ศ. 2558 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญของอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางทั้งในด้าน สวัสดิการ สิทธิ การคุ้มครอง รวมไปถึงสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายให้มีประสิทธิภาพและเกิดความ เท่าเทียมกัน การวิเคราะห์ได้ใช้ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยนาผลการวิเคราะห์ไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่มีความแตกต่างกัน เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางในฐานะผู้เช่า ได้เข้าถึงระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง และ สามารถเข้าถึงขั้นตอนการยื่นเอกสารตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการ การยางแห่งประเทศไทยเรื่องแบบและวิธีการยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน พ.ศ. 2558 ได้อย่างเท่าเทียมกับเจ้าของสวนเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรอย่างเต็มรูปแบบ ให้ได้รับความคุ้มครองที่มีความเสมอภาคกันอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงการขอรับการ ส่งเสริมสนับสนุนและความช่วยเหลือเพื่อการปลูกแทน ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยาง แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้กาหนดประเด็นในการวิเคราะห์ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3