2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
77 ไทยเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเข้าสู่ขั้นตอนการยื่นเรื่องดาเนินการทางเอกสารต่าง ๆ ต่อเจ้าหน้าที่ที่ รับผิดชอบได้เลย 2) กลุ่มที่ 2 ภาคประชาชนจะแบ่งออกเป็น 2 ความเห็นได้แก่ 2.1 กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่มีกรรมสิทธิ์ มีความเห็นว่า แบบและวิธีการยื่นคา ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2558 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบุคคลผู้เป็นเจ้าของสวนยางแต่อย่างใดเลย เนื่องจาก เจ้าของสวนสามารถดาเนินการยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทนยางพาราในที่ดินของตนเองได้ ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เอกสารและหลักฐาน รวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดาเนินทางการ กฎหมาย ให้ความเป็นธรรมต่อตัวเจ้าของสวนยาง สะดวก รวดเร็ว และไม่ถือเป็นการยุ่งยาก 2.2 กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่มีสิทธิครอบครอง ได้แก่ผู้เช่า มีความเห็นว่าในเรื่อง แบบและวิธีการยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มีทั้งผู้เช่าที่สามารถยื่นขอรับทุนสนับสนุนให้มี การปลูกแทนยางพาราได้ เนื่องจากที่ดินที่ตนเช่านั้นเป็นที่ดินของญาติ พี่น้อง เพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน การดาเนินเรื่องของเอกสารยินยอมในการขอทุนปลูกแทนจากผู้ให้เช่าจึงไม่ได้เป็นปัญหากับผู้เช่า จึง สามารถดาเนินการตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนดไว้ได้ ส่วนผู้เช่าบางรายที่เช่าที่ดิน ของผู้อื่นผู้ให้เช่าไม่ได้อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่ดินที่ตนให้เช่าก็มักจะเกิดปัญหาแก่ผู้เช่าในเรื่อง ของเอกสารขอความยินยอมจากผู้ให้เช่าไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ไม่ให้ความยินยอม ความไม่สะดวก ในเรื่องเวลา การเดินทาง การติดต่อ เป็นต้น ผู้เช่าเลยมักจะไม่สนใจและละเลยสิทธิตรงนี้ไปและไป จัดการปัญหาที่เกิดขึ้นหรือได้รับผลกระทบต่อสวนยางของตนเองด้วยทุนทรัพย์ของตนเองแทน 4.2.3 ความไม่เท่าเทียมกันตามกฎหมายที่มีต่อผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติรับรองหลักความเสมอ ภาคไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่าประเทศไทยนั้นได้ให้ความสาคัญกับหลักความเสมอภาคด้วยการนา หลักการดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศแต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนในฐานะผู้ทรงสิทธิแห่งความเสมอภาคยังขาดความรู้และความเข้าใจที่ดีพอ จึงไม่สามารถยก บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในเรื่องหลักความเสมอภาคเพื่อใช้สิทธิเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ตนเองได้เท่าที่ควร ทาให้เกษตรกร ในฐานะผู้เช่า ละเลยในการเรียกร้องสิทธิ ทั้งที่ตนก็มีสิทธิ ครอบครองตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 “การเช่า” หมายความว่า การเช่าหรือการเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าที่ดินเพื่อประกอบ เกษตรกรรมประเภทที่การเช่าที่ดินเพื่อการนั้นมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าการเช่า หรือการเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงการยินยอมให้ใช้ ที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมดังกล่าวโดยได้รับค่าเช่า และการทานิติกรรมอื่นใดอันเป็นการอาพราง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3