2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

79 การใด ๆ ในที่ดินของตนเองบ้างหากเจ้าของสวนไม่พอใจหรือไม่มีความประสงค์จะให้ผู้เช่าใช้สิทธิใน การขอทุนปลูกแทน ก็สามารถปฏิเสธไม่ให้ความยินยอมได้ 2.2 กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่มีสิทธิครอบครอง ได้แก่ ผู้เช่า มีความเห็นว่า หนังสือ ขอความยินยอมก็ถือเป็นหลักฐานที่สามารถใช้คุ้มครองสิทธิของตนได้ หากเกิดปัญหาก็สามารถใช้ยัน เจ้าของสวนได้ แต่ในทางกลับกันผลเสียก็มีมากมายเช่นกันหากเจ้าของสวนไม่ให้ความยินยอมผู้เช่าก็ จะเสียสิทธิ และเมื่อผู้เช่าไม่ได้รับสิทธิจากภาครัฐในการช่วยเหลือผู้เช่าก็ต้องรับภาระในค่าใช้จ่ายเ อง ทั้งหมดเท่ากับว่าสิทธิครอบครองในสัญญาเช่าตามกฎหมายของผู้เช่าไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการ ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ได้หรือหากใช้ได้ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเจ้าของสวนก็ไม่ได้ให้ความยินยอม ดังนั้นเมื่อผู้เช่านั้นไม่ได้มีสิทธิดีไปกว่าเจ้าของสวนยางก็เกิดความไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันภายใต้ กฎหมายเดียวกันการประกอบอาชีพเหมือนกัน ดังนั้นควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้เกษตรกรใน ฐานะผู้เช่านั้นให้ได้รับความเป็นธรรมและให้การใช้สิทธิเป็นเรื่องของทุกคนที่มีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน 4.3 สิทธิในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรชาวสวนยางของประเทศไทยและต่างประเทศ ประเทศไทยให้ความสาคัญกับเกษตรกรชาวสวนยางเนื่องจากยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มี ความสาคัญต่อการพัฒนาประเทศชนิดหนึ่งของประเทศไทยที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศทั้งยัง สร้างรายได้เลี้ยงชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางมากกว่า 1 ล้านครัวเรือน และร่วมสร้างความมั่นคงด้าน อาชีพให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง เนื่องจากยางพาราเป็นพืชที่ให้ผลผลิตสม่าเสมอตลอดปี มีอายุการ ให้ผลผลิตนานกว่า 20 ปี รัฐจึงได้จัดสวัสดิการ สิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายให้กับเกษตรกร ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง พ.ศ. 2503 ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดหรืออยู่ในสถานะใดย่อมมีสิทธิเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการจ จากภาครัฐ และได้รับการคุ้มครองรับรองสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 73 “รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกร ประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่า และสามารถแข่งขันในตลาดได้ และพึงช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากไร้ให้มีที่ทากินโดย การปฏิรูปที่ดิน หรือวิธีอื่นใด” จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้บัญญัติหลักว่าด้วยความเสมอภาคของบุคคล ถือว่าเป็นหัวใจสาคัญ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญและให้ความสาคัญกับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อจัดให้มี มาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นว่า ยางพารานั้นเป็นผลผลิตของเกษตรกรที่มีความสาคัญและได้สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจานวน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3