2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

80 มาก จึงต้องให้ความสาคัญแก่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางเป็นลาดับต้น ๆ ดังนั้นเกษตรกร ชาวสวนยางกรณีของผู้เช่า เมื่อถือว่าเป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางตามกฎหมายและได้ เข้าสู่ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรเรียบร้อยแล้ว กรณีการขอทุนปลูกแทนของผู้เช่า หากพิจารณา ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญประกอบกันแล้วผู้เช่าควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับ เจ้าของสวนคือสามารถยื่นขอรับเงินสนับสนุนการปลูกแทนใน มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการ ยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้เลยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสวนก่อน เนื่องจาก บุคคลในฐานะเดียวกันประกอบอาชีพเหมือนกันไม่ควรมีเงื่อนไขตามกฎหมายมาบังคับใช้แก่บุคคล เพียงเฉพาะรายและมาตรา 27 วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและ ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน” เพื่อให้ทุกคน ทุกอาชีพเข้าถึงบริการจากภาครัฐ สิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ และกาหนดให้รัฐมีหน้าที่บริการและดูแลให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ทุกคนควรมีสิทธิได้รับการบริการจากภาครัฐด้านสิทธิ สวัสดิการ การเข้าถึง ด้านการยื่นขอทุนปลูก แทนจากภาครัฐไม่แตกต่างกัน โดยที่ยางพาราและผลิตผลจากยางพารามีความสาคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและประชาคม โลกเป็นอย่างมาก การปฏิรูประบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพารา การวิจัยและพัฒนาการรักษา เสถียรภาพระดับราคายางพารา การดาเนินธุรกิจ และการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางจึงเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่ง ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกร ชาวสวยางและผู้ประกอบกิจการยางจาเป็นต้องจัดให้มีองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการ เกี่ยวกับยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจรมีเอกภาพสามารถดาเนินการไปได้อย่างเป็น อิสระคล่องตัวและใช้ยางพาราและผลิตผลจากยางพาราให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดจึง มีการตราพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ขึ้น มาตรา 4 ได้ให้คานิยามไว้ว่า “สวนยาง” หมายความว่า ที่ดินปลูกต้นยางเนื้อที่ไม่น้อยกว่าสองไร่ แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น และโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น “เกษตรกรชาวสวน ยาง” หมายความว่า เจ้าของ ผู้เช่าหรือผู้ทาสวนยางและคนกรีดยาง มีสิทธิได้รับผลผลิตจากต้นยางใน สวนยางนั้น และได้ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการประกาศกาหนด และ มาตรา 36 วรรคหนึ่ง “เกษตรกรชาวสวนยางผู้ใดมีสวนยาง ตั้งอยู่บนที่ดินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หากประสงค์จะขอรับ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคาขอรับการส่งเสริมและ สนับสนุนต่อ กยท. ตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกาหนด วรรคสอง “ในกรณีที่ผู้ขอรับการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนเป็นผู้ทาสวนยางในที่ดินที่ตนเช่าหรืออาศัยบุคคลอื่น ผู้ขอรับ การส่งเสริมและสนับสนุนต้องแสดงต่อ กยท. ว่าผู้ให้เช่าหรือผู้ให้อาศัยได้ให้ความยินยอมในการที่ตน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3