2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

81 ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนตามแบบที่คณะกรรมการกาหนด” กรณีของการขอทุนปลูกแทนตาม มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เกษตรกรที่ปลูกยางในที่ดินที่ตน เช่าหากมีความประสงค์จะยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนก็จะต้องได้รับความ ยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนและหากผู้ให้เช่าไม่ให้ความยินยอมก็เสียสิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมและ สนับสนุนให้มีการปลูกแทน แม้ผู้เช่าจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามสัญญาเช่า กล่าวคือเกษตรกร ชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่าที่ปลูกยางในที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง เกษตรกรไม่สามารถขอการปลูก แทนได้เลยทันทีเหมือนกับเจ้าของสวนที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เนื่องจากตามประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่องแบบและวิธีการยื่นคาขอรับ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน พ.ศ. 2558 ข้อ 4 คุณสมบัติของผู้ขอรับการส่งเสริมและ สนับสนุนให้มีการปลูกแทน กล่าวไว้ว่า 4.3 “มีสวนยาง (ก) ตั้งอยู่บนที่ดินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ตามบัญชีเอกสารหลักฐานที่ดิน 1 ท้ายประกาศ) หรือ (ข) ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ (ตามบัญชีเอกสารหลักฐานที่ดิน 2 ท้ายประกาศ) หรือ (ค) ตั้งอยู่บนที่ดินตาม (ก) หรือ (ข) ที่ผู้ทาสวนยางเช่าหรืออาศัยบุคคลอื่นและได้ รับคายินยอมจากผู้ให้เช่าหรือผู้ให้อาศัยในการที่ตนขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูก แทน” ทาให้เกิดประเด็นปัญหาตรงที่ว่าเกษตรกรที่ปลูกยางในที่ดินที่ตนเช่าหากมีความประสงค์จะยื่น คาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ก็จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน และหากผู้ให้เช่าไม่ให้ความยินยอมก็เสียสิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน แม้ผู้เช่าจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามสัญญาเช่า เกษตรกรก็ไม่สามารถขอการปลูกแทนได้ และ ปัญหาอีกประการคือผู้ขอรับการสงเคราะห์การปลูกแทน ต้องยื่นขอรับการสงเคราะห์ในฐานะผู้เช่า และจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสวนยาง คือจะต้องแสดงหนังสือมอบอานาจตามแบบที่ สานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางกาหนดและต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรให้ เรียบร้อยพร้อมสาเนา 2 ฉบับ เมื่อผู้ครอบครองที่ดินเพื่อทาสวนยางพาราต้องการจะขอทุนปลูกแทน แต่เมื่อรู้เงื่อนไขแล้วก็อาจจะเป็นการยุ่งยากที่จะต้องไปดาเนินการโดยต้องไปขออนุญาตจากเจ้าของ ที่ดินที่ตนเช่าก่อนแล้วถึงจะไปดาเนินการขอทุนปลูกแทน พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง พ.ศ. 2503 ก็ได้ให้ความสาคัญแก่ผู้ประกอบ อาชีพเกษตรกรชาวสวนยางในเรื่องของ "การปลูกแทน" การขอทุนปลูกแทนตามพระราชบัญญัตินี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อดาเนินกิจการสงเคราะห์การทาสวนยาง โดยผู้ที่จะได้รับการสงเคราะห์ตาม พระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นเจ้าของสวนยาง ที่มีต้นยางอายุกว่ายี่สิบห้าปีขึ้นไป หรือต้นยางทรุดโทรม เสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อย แต่ในกรณีของผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นผู้ทาสวนยาง ในที่ดินที่ตน เช่าการจะขอรับการสงเคราะห์ ต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ด้วยว่าผู้ให้เช่าได้ให้ความยินยอม ในการที่ตนขอรับการสงเคราะห์ด้วยแล้ว แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้าทางกฎหมายในเรื่องของสิทธิ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3