2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
85 ศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกฎหมายของไทยและต่างประเทศ ดังนี้ 1. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย ในปี 2555 มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 3.46 ล้านเฮกตาร์ ให้ผลผลิต 3.07 ล้านตัน พื้นที่ที่ปลูกมาก อันดับ 1 คือ เกาะสุมาตรา รองลงมา คือ กาลิมันตัน และจัมบี้ ผลผลิตยางธรรมชาติส่วนใหญ่ได้มา จากเกษตรกรรายย่อย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ที่เหลือเป็นของผู้ประกอบการรายใหญ่และพื้นที่ของ รัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 และ 7 ตามลาดับ โดยผลผลิตประมาณร้อยละ 90 จะถูกนาไปแปรรูปเป็น ยางแท่งเพื่อส่งออกไปยังตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้มีกฎหมายสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉบับที่ 39 ปี 2014 เกี่ยวกับพื้นที่เพาะปลูก ข้อที่ 11 (1) ผู้ประกอบธุรกิจการเพาะปลูกสามารถได้รับสิทธิในที่ดินสาหรับ ธุรกิจการเพาะปลูกตามบทบัญญัติของกฎหมาย (2) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของพื้นที่ป่า ของรัฐหรือที่ดินรกร้างรัฐบาลกลางสามารถโอนสถานะของฐานสิทธิให้กับชาวไร่ได้ตามบทบัญญัติของ กฎหมาย กฎหมายสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉบับที่ 39 ปี 2014 เกี่ยวกับพื้นที่เพาะปลูกข้อที่ 11 (2) กาหนดว่าในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของพื้นที่ป่าของรัฐหรือที่ดินรกร้างรัฐบาลกลางสามารถ โอนสถานะของฐานสิทธิให้กับชาวไร่ได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่ากับว่าเกษตรกรที่ทาการ เพาะปลูกในพื้นที่ป่าของรัฐหรือที่ดินรกร้าง รัฐบาลกลางสามารถโอนสถานะของฐานสิทธิให้กับ เกษตรกรผู้นั้นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย ต่างกับประเทศไทย ตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ประกอบประกาศคณะกรรมการการยางแห่ง ประเทศไทยเรื่อง แบบและวิธีการยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน พ.ศ. 2558 หลักเกณฑ์ในการขอทุนปลูกแทนที่ดินดังกล่าวจะต้องไม่เป็นที่ดินหวงห้ามของทางราชการหรืออยู่ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือเขตอุทยานแห่งชาติ หรือป่าที่คณะรัฐมนตรี มีมติกาหนดไว้ ให้เป็นป่าถาวร อันเป็นสมบัติของชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้มีสิทธิทากิน หรือ ได้รับอนุญาตให้เข้าทาประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวเพื่อการ ทาสวนยาง (สานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางอาเภอเมืองนครศรีธรรมราช, 2560) แสดงให้ เห็นว่ากฎหมายของประเทศไทยไม่ให้สิทธิเกษตรกรในการทาประโยชน์ในที่ดินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากหน่วยราชการผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้มีสิทธิทากินหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทาประโยชน์ หรือ อยู่อาศัย ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวเพื่อการทาสวนยาง แต่ถึงอย่างไรก็ตามรัฐสิทธินั้นก็ เป็นเพียงสิทธิชั่วคราวเพื่อการทาสวนยางเท่านั้นแต่กฎหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซียรัฐบาลกลาง สามารถโอนสถานะของฐานสิทธิให้กับเกษตรกรผู้นั้นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย ถือว่าสิทธินั้นเป็น สิทธิของเกษตรกรผู้นั้นไม่ใช่สิทธิเพียงชั่วคราวเหมือนประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3