2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
90 ครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ โดยนาหลักการพึ่งพาตนเอง มาปรับให้เหมาะสมกับตนเองเพื่อ ดารงตนอยู่ในสังคมและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป 5.2.2 ปัญหาของการบังคับใช้ มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ผลการศึกษาในประเด็นปัญหาทางด้านมาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับกับเกษตรกร ชาวสวนยาง พบว่ามาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ยังไม่สามารถ ให้ความเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎหมายเดียวกันแก่เกษตรกรชาวสวนยางในฐานะที่ต่างกัน ได้แก่ ผู้เช่า กับ เจ้าของสวน ให้เกิดความเท่าเทียมกันได้ ผู้วิจัยจึงนาหลักการว่าด้วยความเสมอภาคมาสนับสนุน งานวิจัยนี้ หลักความเสมอภาคหรือที่เรียกว่าหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย ( Equality beforethe law) หรืออีกนัยหนึ่งสิทธิของราษฎรที่จะได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมกันนี้กล่าว ได้ว่ามีบัญญัติรับรองอยู่ในรัฐธรรมนูญของรัฐเสรีประชาธิปไตยแทบทุกรัฐ หลักความเสมอภาคนั้น หมายความว่าองค์กรผู้ใช้อานาจรัฐทั้งหลาย ต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสาคัญอย่าง เดียวกัน และปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสาคัญให้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะเฉพาะของ แต่ละคนการปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสาคัญให้แตกต่างกันก็ดีการปฏิบัติต่อบุคคลที่ แตกต่างกันในสาระสาคัญให้เหมือนกันก็ดีย่อมขัดต่อหลักความเสมอภาค หลักความเสมอภาคถือได้ว่า เป็นหลักที่สาคัญอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อบุคคลสามารถนาสิทธิต่าง ๆที่ได้รับการบัญญัติ รับรองคุ้มครองแก่บุคคลนั้นไปอ้างได้อย่างเท่าเทียมกัน และหากการปฏิบัติต่อบุคคลในฐานะ เหมือนกันให้เกิดความแตกต่างกันย่อมเกิดความเหลื่อมล้ากันในสังคมขึ้น ผู้วิจัยจึงนาทฤษฎีความเหลื่อมล้ามาสนับสนุนในงานวิจัยนี้ “ความเหลื่อมล้า” คือ ความไม่ เท่าเทียมกัน (inequality) เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันปรากฏในทุก ๆ เรื่อง ทุก ๆ พื้นที่ ทุก ๆ ภาคส่วน และทุก ๆ เวลา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะขจัดให้หมดสิ้นไปได้ ความเหลื่อมล้าทางสังคม เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมาอย่างยาวนาน สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้า ในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเรื่อง มาตรการทาง กฎหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่า ในเรื่องของการขอรับเงินทุนสนับสนุน การปลูกแทนตามพระราชบัญญัติยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่กาหนดให้การยางแห่งประเทศ ไทยส่งเสริมและสนับสนุนโดยจ่ายให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ ยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ทาให้เกิดความเหลื่อมล้าตรงที่ว่าเกษตรกรที่ปลูกยางในที่ดินที่มี เพียงสิทธิครอบครองโดยไม่มีชื่อใน เอกสารสิทธิความเป็นเจ้าของ กรณีของผู้เช่าที่ดินของผู้อื่นเพื่อทา การเกษตรปลูกยางพารา เกษตรกรผู้นั้นก็จะไม่สามารถขอทุนปลูกแทนได้ทันที เพราะจะต้องเป็นไป ตามประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่อง แบบและวิธีการยื่นคาขอรับการส่งเสริม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3