2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

89 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยแต่อย่างใด เป็นช่องว่างทางกฎหมาย ทำให้สิทธิในการได้รับสัญชาติไทย ไม่ครอบคลุมไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ดังนั้น ผู้วิจัยมีความเห็นว่า สมควรเพิ่มเติมความใน มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ ให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิได้รับสัญชาติไทยด้วย เพื่อแก้ไขปัญหา สิทธิในการได้รับสัญชาติไทย และจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการสั่งให้คนที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้รับ สัญชาติไทย โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติ ไทยเป็นการเฉพาะราย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธุ์ 2560 จะเห็นได้ว่าในข้อ 2 ได้กำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติ และมีความประสงค์ที่จะขอสัญชาติยื่นคำร้องขอสัญชาติ ณ ที่ว่าการอำเภอ ถึงอย่างไรก็ดีนั้นเนื่องจาก พื้นที่ที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอาศัยเป็นพื้นที่ห่างไกล และประชากรส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เรียนหนังสือ การที่ จะไปติดต่อราชการจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ทั้งในเรื่องการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และความไม่รู้หนังสือ ดังนั้น เห็นควรให้แก้ไขและเพิ่มเติมประกาศฯ ดังกล่าว ในข้อ 2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลง พื้นที่สำรวจกลุ่มประชากรที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยทั้งหมด พร้อมทั้งดำเนินการเรื่องการยื่นคำร้องขอ สัญชาติในเร็วที่สุด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วต่อประชาชนผู้ยื่นคำร้อง และเป็นการ บังคับสร้างความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและเป็นธรรม 2) ประเด็นความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน จากก ารศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.2504 แต่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเป็น ชนพื้นเมืองที่อาศัยในอยู่แถบอันดามันมายาวนานกว่า 300 ปี จึงแสดงให้เห็นว่าชาวเลอยู่มาก่อนที่จะ มีการประกาศเขตอุทยานฯ และการเป็นอุทยานแห่งชาติแน่นอนว่าห้ามมีการจับสัตว์ทะเล ซึ่งชาวเลมี วิถีชีวิตผูกพันกับทะเล มีที่อยู่อาศัยติดชายฝั่งทะเล บางกลุ่มอาศัยอยู่ในทะเล เลี้ยงปากท้องด้วยการ จับสัตว์ในทะเล ดังนั้นการที่รัฐประกาศเขตอุทยานฯ ทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวเลนั้น ส่งผล ให้ชาวเลต้องออกหากินไกลขึ้น ต้องดำน้ำลึกขึ้น บางคนทำให้เกิดโรคน้ำหนีบหรืออัมพาตจากการดำ น้ำไม่สามารถออกทะเลได้อีก ต้องเป็นหนี้เป็นสิน ยากจนลง คุณภาพชีวิตตกต่ำ โดยพื้นที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของชาวเลที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวได้แก่ พื้นที่เกาะลันตาโดย “พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินเกาะไม้งามใต้ เกาะตะละเบ็ง เกาะลันตาใหญ่ เกาะไหง เกาะตุกนลิมา เกาะรอก นอก เกาะรอกใน เกาะหินแดง และเกาะใกล้เคียงในท้องที่ตำบลเกาะกลาง ตำบลเกาะลันตาน้อย และตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2533” พื้นที่ เกาะหลีเป๊ะโดย “พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง และเกาะราวี และ เกาะอื่น ๆ ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ .ศ. 2517” และพื้นที่เกาะสุรินทร์โดย “พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ในท้องที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2524” จากพระราช กฤษฎีกาทั้ง 3 ฉบับ จะเห็นได้ว่า ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3