2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศมีลักษณะการดำรงชีวิตและมีที่อยู่อาศัยแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นกลุ่มชนที่มีความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์กับสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต มีลักษณะ ทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเองรวมตัวเป็นพหุวัฒนธรรม มุ่งมั่นในการ อนุรักษ์พัฒนาและสืบทอดฐานดินแดนของบรรพบุรุษ กลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะมีความผูกพันทาง สายเลือด และอัตลักษณ์ของบุคคลชาติพันธุ์ส่งต่อคนรุ่นต่อไป (บุญยงค์ เกศเทศ, 2562) กลุ่มชาติ พันธุ์ไทยตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย จำนวน 67 จังหวัด 56 กลุ่ม มี ประชากรรวมประมาณ 6,100,000 คน หรือร้อยละ 9.68 ของประชากรทั่วประเทศไทย จำแนกพื้นที่ ตามลักษณะการตั้งถิ่นฐานได้ 4 ลักษณะ คือกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สูงหรือชนชาวเขา กลุ่มที่ตั้งถิ่น ฐานบนพื้นที่ราบ กลุ่มที่อาศัยในป่า และกลุ่มชาวเล ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร พื้นที่ อนุรักษ์ เกาะแก่ง และพื้นที่บริเวณชายแดน (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2557) ภาครัฐและองค์กรภาคีได้จัดทำระบบฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย มีชุมชนที่ นำร่องการเก็บข้อมูล 10 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ภาคเหนือชนเผ่าบีซู มละบริ และก่อ (อึ้มปี้) ภาคอีสาน และภาคกลาง มีชนเผ่าไทแสก ชนเผ่าญัฮกุร และชอง จันทบุรี ส่วนภาคใต้ ประกอบด้วย มอแกน มอ แกลน อูรักลาโว้ย และมานิ โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์ภูมิวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ระบบ ฐานข้อมูลของแต่ละชนเผ่า จะประกอบด้วย 4 หมวดหมู่ คือ หมวดประวัติศาสตร์ การกระจายตัว และจำนวนประชากร วิถีชีวิตและเศรษฐกิจ รวมทั้งสถานการณ์และปัญหาที่แต่ละกลุ่มเผชิญอยู่ เป็น ต้น นอกจากจัดทำข้อมูลเพื่อให้สาธารณะชนได้เข้าใจตัวตนของชนเผ่าพื้นเมืองมากขึ้นแล้ว ชุดข้อมูล เหล่านี้จะถูกใช้เพื่อออกแบบการจัดการตนเองของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินและอยู่อาศัย ขาดสิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการที่รัฐจัดให้ เนื่องจากไม่มี บัตรประชาชน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลมอแกนในจังหวัดระนอง (TCIJ, 2562) สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลมีประวัติมายาวนาน เป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของชายฝั่งทะเล อันดามัน ที่อาศัยหาอยู่หากินกับทะเลอันดามันมาเป็นเวลายาวนาน เป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐาน อยู่ในราชอาณาจักรไทยก่อนที่ประเทศไทยจะรวบรวมแผ่นดินและประชากรเป็นรัฐชาติ เพื่อคงความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3