2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
2 เป็นเอกราชจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก (มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและ สิ่งแวดล้อม, 2561) ซึ่งถ้าย้อนไปเมื่อกว่า 500 ปีก่อน มีชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งซึ่งมีวิถีชีวิตสัญจรอยู่ในท้อง ทะเล กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนั้นก็คือชาวเลอูรักลาโว้ย ซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมและล่องเรืออยู่ในคาบสมุทร อันดามัน บรรพบุรุษของอูรักลาโว้ยเป็นผู้บุกเบิก ค้นพบหาดทรายขาวยาวเหยียด จึงตัดสินใจขึ้นฝั่ง และปักหลักไว้ที่บริเวณซึ่งพวกเขาเรียกว่า “ปาตัยซาตั๊ก” หรือ เกาะลันตาในปัจจุบัน อูรักลาโว้ยเป็น ทั้งผู้ค้นพบ ผู้บุกเบิก ผู้มาอยู่ก่อน และชาติพันธุ์ดั้งเดิมของเกาะลันตา ตั้งแต่ประมาณ ปีพ.ศ.2360 หรือนับได้ประมาณ 8 ชั่วอายุคนมาแล้ว ต่อมาได้มีชาวมลายูเข้ามาอยู่อาศัย ตามมาด้วยชาวจีนที่ เดินเรือเข้ามาค้าขายกับประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียได้ตัดสินใจปักหลักเพื่อทำการค้าบนเกาะลันตา ส่วนชาวไทยพุทธเป็นกลุ่มสุดท้ายที่เข้ามาอยู่บนเกาะซึ่งส่วนใหญ่นั้นเข้ามารับราชการ (นงค์ลักษณ์ เหล่าวอ บัทเลอร์ , 2561) และบันทึกจากหอจดหมายเหตุ จับใจความได้ว่า ประเทศไทยได้ เกาะหลีเป๊ะมาเป็นของประเทศไทยมาถึงปัจจุบัน เพราะชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะ เป็นชุมชนดั้งเดิม ที่ อาศัยอยู่บนเกาะ มานานกว่า 150 ปี ก่อนสมัยในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการแบ่งอาณาเขตประเทศ สยามในขณะนั้น โดยมีข้าหลวงแห่งประเทศอังกฤษ เป็นคนกลางในการปักปันเขตแดนประเทศสยาม กับประเทศมาเลเซีย ซึ่งชาวเลที่อาศัยอยู่บนเกาะหลีเป๊ะในในยุคนั้นได้เลือกอยู่กับประเทศสยาม ทำ ให้เกาะหลีเป๊ะเป็นของประเทศไทยในปัจจุบัน (สยามรัฐออนไลน์, 2563) รวมไปถึงคำพิพากษาที่เคย ตัดสินในคดีพิพาทที่ดินบนหาดราไวย์แสดงให้เห็นถึงการครอบครองสิทธิในที่ดินเริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 สอดคล้องกับภาพถ่ายทางอากาศเห็นว่าชาวเลราไวย์อยู่อาศัยในพื้นที่พิพาทมาก่อน รวมถึงสมุด ทะเบียนนักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์เป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นที่พิสูจน์มีชาวเลราไวย์ที่เข้ามา ศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 (บุศรินทร์ วรสมิทธิ์, 2560) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอาศัยตามเกาะ ชายหาด หรือชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกทางใต้ บริเวณ ทะเลอันดามันนั้น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย มีประวัติความ เป็นมาและวัฒนธรรมที่แตกต่างและคล้ายคลึงกัน ในปัจจุบันชาวเลทุกกลุ่มตั้งบ้านเรือนอยู่ตามชายฝั่ง ทะเลหรือเกาะต่าง ๆ หรือในบริเวณที่ไม่ห่างจากฝั่งทะเลมากนัก ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล คาดว่ามีประชากรชาวเลทั้งสามกลุ่มในประเทศไทยราว 12,000 คน ชาวเลส่วนใหญ่ ยังยึดอาชีพที่เกี่ยวกับทะเล เช่น ดำน้ำหาหอย กุ้ง ปู ตกปลา ทำลอบหรือลงอวนดักปลา บางส่วนหัน มาทำงานรับจ้าง เช่น ขับเรือท่องเที่ยว ในขณะที่บางส่วนหันมาประกอบอาชีพอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ทะเล อาทิ รับจ้างทำสวน เป็นแรงงานก่อสร้างทำงานในโรงงาน เป็นลูกจ้างตามร้านค้าหรือรีสอร์ต ฯลฯ (นฤมล อรุโณทัย, 2557) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กล่าวได้ว่าเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศ เป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้ผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 70 ประกอบมาตรา 4 ให้ความสำคัญกับหลักพื้นฐานศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเสมอ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3