2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่องการคุ้มครองสิทธิวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในภาคใต้ ผู้วิจัยได้รวบรวม แนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย เอกสารต่าง ๆ รวมไปถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษา เรื่องดังกล่าว โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.2 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย 2.3 กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลภาคใต้ 2.4 สิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน 2.5 การได้มาซึ่งสัญชาติไทย 2.6 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ภาคใต้ ได้แก่ แนวคิดสิทธิมนุษยชน แนวคิดกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดรัฐสวัสดิการ ทฤษฎีว่าด้วยความ 2.1.1 แนวคิดสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นของพวกเราทุกคน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ ไม่ว่าคุณจะมีความเชื่ออะไร หรือใช้ชีวิตแบบไหนก็ตาม สิทธิมนุษยชนไม่ สามารถถูกพรากไปได้ แต่บางครั้งสิทธิมนุษยชนอาจถูกจำกัด เช่น ถ้าคุณทำผิดกฎหมาย หรือกระทำ การที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่า ความเป็นมนุษย์ เช่น ความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้น เพราะสิทธิมนุษยชนคือ แนวคิดที่ได้รับการนิยาม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, 2561) สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิประจำตัวของมนุษย์ทุกคน เพราะมนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีมีเกียรติ ศักดิ์ประจำตัว สิทธิมนุษยชนไม่สามารถโอนให้แก่กันได้นักปฏิบัติการ สิทธิมนุษยชนให้คำอธิบายว่า เราเรียกสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องได้รับในฐานะที่เป็นคนซึ่งทำให้คนคนนั้นมีชีวิตอยู่รอดได้อย่าง เหมาะสมแก่ความเป็นคน และสามารถมีการพัฒนาตนเองได้ ก็คือสิทธิมนุษยชน (กรมคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ, 2557)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3