2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
8 กมล กมลตระกูล ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิในชีวิต การทำลายชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดกฎหมาย ถือว่าเป็นอาชญากรรมของทุกสังคม สิ่งที่ทำให้ชีวิดำรง อยู่ได้คือ ปัจจัยในการดำรงชีวิตอันได้แก่ ที่อยู่อาศัย ยา และการรักษาพยาบาล การมีงานทำ และมี โอกาสศึกษาเพื่อนำความรู้ไปทำมาหากินเพื่อแสวงหาปัจจัยดำรงชีพ ความยากจนคือภาวะที่ขาด แคลนปัจจัยดำรงชีพ สิทธิมนุษยชนคือสิทธิในความไม่ถูกทำให้เป็นคนจน (กมล กมลตระกูล, 2548) ชวัชชัย ภาติณธุ ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิด มาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์และสิทธิ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยมิคำนึงถึงความ แตกต่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพ สุขภาพ และความเชื่อที่ ขึ้นกับพื้นเพทางสังคม ชาติกำเนิด สิทธิทางสถานะและการครอบครองทรัพย์สิน ความเป็นจริงเหล่านี้ หากไม่เป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานย่อมทำให้เกิดการเรียกร้องขึ้นในด้านศีลธรรมว่าเป็นสิทธิที่มีมาแต่ กำเนิดไม่สามารถถ่ายโอนให้กันได้ (ชวัชชัย ภาติณธุ, 2548) บรรเจิด สิงคะเนติ ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิทธิมนุษยชนหรือสิทธิของทุก ๆ คน สิทธิ ประเภทนี้ ได้แก่ สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกๆคน โดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้น จะเป็นคนของชาติใด เชื้อชาติใด หรือศาสนาใด หากบุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐที่ใช้ รัฐธรรมนูญของประเทศนั้น บุคคลนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ๆ ด้วยสิทธิ มนุษยชนเป็นคุณลักษณะประจำตัวของมนุษย์ทุกคน เป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และด้วยเหตุผลแต่เพียงอย่างเดียวว่าเพราะเขาเกิดมาเป็นมนุษย์ มนุษย์ทุก คนมีสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่จะมีรัฐเกิดขึ้น สิทธิประเภทนี้ ได้แก่ สิทธิในชีวิตและ ร่างกายเสรีภาพในทางศาสนา เป็นต้น (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2547) พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้นิยามความหมาย สิทธิ มนุษยชนไว้ว่า คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการ รับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตาม สนธิสัญญาที่ประเทศไทย มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองทั่วโลก ว่าเป็น มาตรฐานขั้นต่ำของการปฏิบัติต่อมนุษย์นั้น สรุป สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมี เป็นสิทธิถาวรที่คงอยู่ กับมนุษย์ผู้นั้นตั้งแต่เกิดมาจนเมื่อตายไป สิทธิมนุษยชนนั้นมุ่งเน้นคุ้มครองความมีศักดิ์ศรี ความ ยุติธรรม ความเท่าเทียมเสมอภาคกัน ความเคารพ และความเป็นอิสระของบุคคล เป็นสิทธิเฉพาะตัว บุคคลไม่สามารถถ่ายโอน สิทธิมนุษยชนไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพศ สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา ชาติกำเนิด ฐานะ หรือสิ่งอื่นใดที่แสดงให้เห้นถึงความแตกต่าง ยกเว้นการกระทำผิดกฎหมาย หรือ กระทำการที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ในกรณีนี้สิทธิมนุษยชนจะไม่ได้รับความ คุ้มครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3