2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

9 หลักการพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ของบุคคลที่ได้รับการรับรองทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการ ล่วงละเมิดได้โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศ โดยมีหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ๖ ประการ ได้แก่ (บูรณ์ ฐาปนดุลย์, 2559) 1) ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) เป็นสิทธิติดตัวทุกคน ตามธรรมชาติ ตั้งแต่เกิด เป็นคุณสมบัติจิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้ มิให้บุคคลอื่น มาล่วงละเมิดได้การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครอง และได้รับ ความยุติธรรมจากรัฐ 2) คนทุกคนมีความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ (Equality andnon-discrimination) 3) สิทธิมนุษยชนเป็นของคนทุกคนโดยไม่เลือกเชื้อชาติศาสนา เพศ อายุอาชีพ สถานะทาง เศรษฐกิจ หรือสังคม สุขภาพ และความคิดเห็นด้านต่าง ๆ (Universality) 4) สิทธิมนุษยชนเป็นองค์รวมแยกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้และพึ่งพิงกัน ( Indivisibility & Interdependently) 5) การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินั้น (Participation & Inclusion) คือ การ ที่ประชาชนแต่ละคน หรือกลุ่มประชาชน หรือประชาสังคม มีส่วนร่วมอย่างแข่งขันในการเข้าถึงและ ได้รับประโยชน์จากสิทธิพลเมืองและการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 6) ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม (Accountability & The Rule of Law) ประเภทของสิทธิมนุษยชน ประเภทของสิทธิมนุษยชน แบ่งได้ 5 ประเภท ทั้งนี้เป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ได้แก่ (บูรณ์ ฐาปนดุลย์, 2559) 1) สิทธิพลเมือง (Civil Rights) เป็นสิทธิของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองแห่งรัฐเป็น สิทธิที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายของรัฐ ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกทำร้ายหรือฆ่า สิทธิในความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย สิทธิที่จะได้รับสัญชาติ เป็นต้น 2) สิทธิทางการเมือง (Political Rights) ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐใน การดำเนิน กิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง เสรีภาพในการชุมนุม โดยสงบ สิทธิการเลือกตั้งอย่างเสรี 3) สิทธิทางสังคม (Social Rights) เป็นสิทธิของประชาชนทางสังคมที่จะได้รับบริการจาก สังคม ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม ได้แก่ สิทธิการได้รับการศึกษา สิทธิการได้รับหลักประกันด้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3