2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
10 สุขภาพ ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือก คู่ครองและสร้างครอบครัว 4) สิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic Rights) ได้แก่ สิทธิการมีงานทำ ได้เลือกงานอย่างอิสระ และได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น 5) สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Rights) ได้แก่ สิทธิการเข้าร่วมในพิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรมของประชาคมในด้านศิลปะต่าง ๆ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษา การสื่อความหมายในภาษา ท้องถิ่นของตน เสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน ปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงการบันเทิงได้โดย ไม่มีใครมาบีบบังคับ 2.1.2 แนวคิดกลุ่มชาติพันธุ์ Max Weber ให้ความหมายว่า กลุ่มชาติพันธุ์คือ กลุ่มสมาชิกที่เชื่อว่าสืบสายโลหิตมา ร่วมกัน เนื่องมาจากความคล้ายคลึงกันของลักษณะทางกายภาพหรือขนบธรรมเนียมอย่างใดอย่าง หนึ่ง หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน หรืออาจเกิดขึ้นจากความทรงจำ ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง หรือ ช่วงเวลาของการอพยพ (Weber, M., 1997) สำหรับการนิยามความเป็นชาติพันธุ์ Charles F. Keyes ได้นำเสนอว่า ต้องมีเบ้าหลอม ความรู้สึกทางสายเลือด เช่น ภาษาของกลุ่มสมาชิกที่ใช้สื่อสารกัน นิทานหรือเรื่องเล่าที่สมาชิกกลุ่ม ใหญ่ มีความเชื่อร่วมกัน และบริบททางประวัติศาสตร์ที่สมาชิกในกลุ่มมีประสบการณ์ร่วมกัน นอกจากนี้บริบทความสัมพันธ์และการปรับเปลี่ยนความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ยังสัมพันธ์กับรัฐชาติ สมัยใหม่ซึ่งเขาได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของความรู้สึกชาตินิยมที่เกิดขึ้น ระหว่าง การสร้างรัฐชาติกับพัฒนาการของจิตสำนึกชาติพันธุ์ นอกจากนี้การสืบทอดวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ นอกจากจะเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่และยังเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นของชาติ พันธุ์ การปฏิบัติหรือการแสดงออกที่เป็นมรดกของบรรพบุรุษ ได้แก่ ภาษา ประเพณี ความเชื่อ และ นิทานปรัมปรา ที่กล่าวถึงความเป็นมาของบรรพบุรุษในการสร้างกลุ่มและถิ่นที่อยู่ซึ่งเป็นการสร้าง ความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ และต้องการรักษากลุ่มชาติพันธุ์ของกลุ่มตนเองไว้ และการนับถือเครือ ญาติ หรือบรรพบุรุษร่วมกัน เป็นการแสดงว่าเป็นพวกเดียวกัน หรือเป็นส่วนหนึ่งของตระกูล เป็นการ สร้าง ความรู้สึกความเป็นพี่เป็นน้อง ทำให้เกิดพลังที่จะประพฤติตนตามแบบอย่างที่บุคคลในสังคม ของตนปฏิบัติสืบต่อกันมา (Keyes, C. F., 1979) ในช่วงแรก ๆ การถกเถียงเรื่องชาติพันธุ์จำกัดวงอยู่ในหมู่นักมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา เป็นส่วนใหญ่ ทว่าในปัจจุบันชาติพันธุ์ได้กลายเป็นหัวข้อสำคัญที่นักวิชาการในสาขาสังคมศาสตร์ แขนงต่าง ๆ เช่น รัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เป็นต้น ให้ความสนใจในการศึกษาและเข้าร่วม วงวิวาทะ เพื่อค้นหาแนวคิดและสมมติฐานใหม่ๆ ในการอธิบาย หรือวิเคราะห์ลักษณะทางชาติพันธุ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3