2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

11 ซึ่งถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก เช่น อิท ธิพ ลข อ ง โลก าภิ วัตน์ ก า ร อพ ยพ ย้ าย ถิ่น โด ย เฉพ าะ สน าม ชุม ชน ข้ าม พ รห ม แ ด น (Transnationalism) การบริโภค (Consumerism) เป็นต้น ชาติพันธุ์และความสัมพันธ์ชาติพันธุ์จึง เป็นเรื่องที่ซับซ้อน มีพลวัตที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม (นิติ ภวัครพันธุ์, 2558) สรุป ชาติพันธุ์ คือ กลุ่มคนที่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึง สืบสายโลหิตร่วมกันมาจาก รุ่นสู่รุ่น มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีเดียวกัน มีลักษณะเด่นที่ใครเห็นก็ต่างบอกได้ว่าเป็นชาติพันธุ์ เดียวกัน 2.1.3 แนวคิดรัฐสวัสดิการ ในหลายประเทศจัดสวัสดิการให้กับประชาชนโดยใช้แนวคิดรัฐสวัสดิการ (Welfare state) กล่าวคือภาครัฐเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด และทำการเก็บภาษีในระดับที่สูงเพื่อให้สามารถ รับภาระได้ ซึ่งมีข้อเสียคือ ทำให้ภาครัฐมีขนาดใหญ่มากเพื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจ โดยหลาย ประเทศนั้นรายได้และรายจ่าย ภาครัฐคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งประเทศในแต่ละปี ทำให้เกิดการ เบี่ยงเบนของกลไกตลาดที่ ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากการเก็บภาษีโดยทั่วไปก่อให้เกิดการบิดเบือนของ ราคา อีกแนวคิดหนึ่งคือแนวคิดสังคมสวัสดิการ (Welfare society) เป็นแนวคิดที่เสนอให้ภาคส่วน อื่น ของสังคมเข้ามาร่วมรับภาระในการจัดสวัสดิการ ไม่ว่าจะเป็นภาระด้านการเงินหรือด้านการ บริหารจัดการ ตัวอย่างเช่นการเข้าร่วมให้บริการสวัสดิการโดยชุมชนหรือภาคธุรกิจ ชุมชนมีบทบาท ในการดูแลทุกข์สุขของประชาชนมาช้านาน ในรูปแบบต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่การช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่าง เพื่อนบ้านยามเจ็บไข้ได้ป่วย การแบ่งปันอาหาร ยารักษาโรค ที่พักอาศัย เป็นต้น ไปจนถึงการร่วม ก่อตั้งสหกรณ์หรือกลุ่มอาชีพในรูปแบบต่าง ๆ การพึ่งพิงวัด เป็นต้น ส่วนภาคธุรกิจนั้น ควรแทรกการ จัดสวัสดิการสังคมไว้ใน แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของ ธุรกิจ ( Corporate Social Responsibility หรือ CSR) หรือแนวคิดวิสาหกิจสังคม (Social Enterprise) ซึ่งนอกจากข้อดีโดยตรง ในการลดภาระภาครัฐและลดการบิดเบือนกลไกตลาดแล้ว ภาคธุรกิจยังสามารถเพิ่มศักยภาพของ ชุมชนในการบริหารจัดการสวัสดิการได้ด้วย เช่น การฝึกอบรมด้านการทำบัญชีให้สหกรณ์ สวัสดิการ เป็นต้น (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2554) ประเทศไทยมีการลงทุนทางสังคม มีการสร้างและพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมให้แก่ ประชาชน เช่น การพยาบาลฟรี (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เรียนฟรี 15 ปี ประกันสังคม เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กองทุนการออมแห่งชาติ เบี้ยความพิการ เป็นต้น การจัดสวัสดิการสังคมถือเป็น การลงทุนทางสังคม และเป็นการสร้างหลังประกันขั้นพื้นฐานของประชาชน ช่วยเหลือประชาชนให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3