2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

12 (Social Safety Net) ไว้ช่วยรองรับประชาชนที่ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตต่าง ๆ (วิสาตั้งนทีทวีผล, 2560) 2.1.4 ทฤษฎีว่าด้วยความสมานฉันท์ของสังคมของ ลีออง ดิวกี ลีออง ดิวกี (Leon Duguit)เป็นศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่ง มหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ในประเทศฝรั่งเศส และนับเป็นนักคิดคนสำคัญอีกผู้หนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพล ความคิดของเยียริ่งเกี่ยวกับทฤษฎีนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา แต่ภายหลังเขาได้พยายามปรับปรุงทฤษฎี ดังกล่าวให้เป็นธรรมมากขึ้น ในความคิดของเขา โดยมีแนวโน้มสู่ลัทธิรวมการเพิ่มขึ้น ด้วยความ พยายามที่จะอธิบายบทบาทของกฎหมายทั้งหมดในแง่ของการปกป้องผลประโยชน์ของสังคมพร้อม ๆ กับการปฏิเสธแนวคิดดั้งเดิมเรื่องธรรมชาติของรัฐ อำนาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (จรัญ โฆษณานันท์, 2547) โดยภาพรวมแล้ว แนวคิดของดิวกี จะเน้นบทบาทของกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่ เป็นธรรมในสังคม มีอุดมการณ์ความคิดค่อนข้างจะเป็นสังคมนิยม แต่ถึงอย่างไรก็ดีนั้น แนวคิดของ ดิวกี ก็ยังมีกลิ่นอายของกฎหมายอยู่ไม่น้อย แม้ดิวกีจะคัดค้านความคิดแบบอภิปรัชญาอย่างรุนแรงก็ ตาม (จรัญ โฆษณานันท์, 2555) ซึ่งหลักความสมานฉันท์ของสังคม (Principle of Social Solidarity) เปรียบเสมือนหลักการบัญญัติกฎหมาย กล่าวคือ การเขียนกฎหมายหรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ของรัฐควบคุมคนในสังคมนั้น กฎหมายต้องมีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการใช้ ประโยชน์ร่วมกัน มิใช่เพื่อประโยชน์ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (สิทธิกร ศักดิ์แสง, 2562) ลีออง ดิวกี ยืนยันว่า ชีวิตความเป็นไปทางสังคมควรได้รับการพิจารณาตามสภาพ ข้อเท็จจริงที่มันดำเนินอยู่ หากเราต้องการเห็นภาพทั่วไปของสังคมอย่างถูกต้องและใกล้เคียงที่สุด และสัจธรรมเกี่ยวกับสังคมที่สำคัญยิ่งก็คือ การที่มนุษย์ต้องมีชีวิตอยู่แต่ในสังคมพร้อมความจำเป็นใน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สัจจะข้อนี้จะคงดำรงอยู่เสมอ และเพิ่มขยายมากขึ้นเมื่อชีวิตทางสังคม เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น และยิ่งเมื่อมนุษย์เป็นนายเหนือธรรมชาติมากขึ้น มนุษย์ทั่วไปจะมีความ ต้องการร่วมที่คล้ายคลึงกันซึ่งบังคับให้มนุษย์ต้องใช้ความพยายามร่วมกัน ขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีทั้ง ความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งบังคับให้มนุษย์ต้องปรับตัวเข้าหากันและต้องปรองดองกัน ไม่มีมนุษย์ คนใดสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบันโดยปราศจากการพึ่งพาการกระทำของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่า จะเป็นน้ำ อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า การพักผ่อนหย่อนใจ และอื่น ๆ การพึ่งพาทางสังคมเช่นนี้มิใช่ เป็นเรื่องการคิดฝันนึกเอา แต่เป็นสัจจะเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่ปรากฏชัดแจ้งพ้นจากการ โต้แย้งเชิงอุดมการณ์หรือหลักอภิปรัชญาใด ๆ และไม่อาจเป็นอื่นได้ โดยเหตุนี้การจัดองค์กรหรือ ระเบียบทั้งหมดในสังคมจึงควรต้องมุ่งสู่การร่วมมือกันอย่างเต็มที่ เต็มพร้อมและราบรื่นมากขึ้น ระหว่างประชาชน และตรงนี้เองที่ดิวกีเรียกว่า หลักความสมานฉันท์ของสังคม (Duguit, L, 1920)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3