2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
13 หลักความสมานฉันท์ของสังคม มีการเน้นความสำคัญของรัฐ และความรับผิดของรัฐ ซึ่งรัฐ จำเป็นต้องจัดสวัสดิการให้กับสังคมและยกเลิกความแตกต่าง ระหว่าง กฎหมายเอกชน ( Private Law) กับกฎหมายมหาชน (Public Law) ดิวกีไม่เห็นด้วยที่จะแบ่งกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐ ควบคุมคนในสังคมเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เพราะพื้นฐานความคิดของเขา คือ ทฤษฎีสมานฉันท์ของสังคม ซึ่งเห็นว่า กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมทั้งปวง จะต้องมุ่ง สมานฉันท์ของสังคมทั้งสิ้น จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องแบ่งแยกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของ เอกชน หรือเรื่องนี้เป็นเรื่องของมหาชน เพราะกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคน ในสังคมทั้ง ปวง ล้วนแล้วแต่จะต้องตอบสนองเป้าหมายของสังคมทั้งสิ้น นอกจากนี้ ดิวกี ยังเน้นเรื่องเกี่ยวกับ ความสำคัญของ “หน้าที่” (Duty) มากกว่าเรื่องของ “สิทธิ” (Rights) กฎหมายในสายตาของดิวกีจึง เป็นเรื่องระบบแห่งหน้าที่ ไม่ใช่ระบบแห่งสิทธิ ซึ่งประเด็นนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความคิดในเชิงสังคม วิทยาอย่างชัดเจนที่ให้ความสำคัญกับ เรื่องของหน้าที่อย่างมาก ในขณะสิทธิธรรมชาติ ( Natural Rights) เป็นเรื่อง ที่คิดขึ้นมาเท่านั้นไม่มีจริง (จรัญ โฆษณานันท์, 2555) 2.2 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ชาติพันธุ์ คือ (Ethnicity หรือ Ethnos) กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554) ชาติพันธุ์ คือขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเดียวกัน ภาษาพูดเดียวกัน และการมีความเชื่อ ว่าสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน เช่น ไทย พม่า กะเหรี่ยง จีน ลาว เป็นต้น กลุ่มชาติพันธุ์ หรือกลุ่มวัฒนธรรม มีลักษณะเด่นคือ เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน บรรพบุรุษในที นี้หมายถึงบรรพบุรุษทางสายเลือด ซึ่งมีลักษณะทางชีวภาพและรูปพรรณเหมือนกัน รวมทั้งบรรพ บุรุษทางวัฒนธรรมด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือด และทาง วัฒนธรรมพร้อม ๆ กันไปเป็นความรู้สึกผูกพันที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของชาติพันธุ์ และในขณะเดียวกันก็สามารถเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ถ้าผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์นับถือศาสนาเดียวกัน ความรู้สึกผูกพันนี้อาจเรียกว่า สำนึกทางชาติ พันธุ์ หรือชาติลักษณ์ (อมรา พงศาพิชญ์, 2550) สรุป คือ ชาติพันธุ์ หมายถึง ความเหมือนกันทั้งลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ เนื่องมาจากการสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลานาน มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ภาษา ประเพณี และความเชื่อเดียวกัน มาเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็น ประวัติศาสตร์ มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม จนเกิดเป็นชาติพันธุ์เฉพาะที่มีความแตกต่างจากชาติพันธุ์อื่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3