2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

14 เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มชนที่มีความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์กับสังคมไทยมา ตั้งแต่อดีต มีความแตกต่างด้านต่าง ๆ และมีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง โดยเป็นกลุ่มชนที่ ประชากรมีพันธะเกี่ยวข้องกัน มีลักษณะทางเชื้อชาติวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเดียวกัน รวมตัวเป็นพหุวัฒนธรรม มุ่งมั่นในการอนุรักษ์ พัฒนาและสืบทอดฐานดินแดนของบรรพบุรุษและ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนสู่คนรุ่นอนาคต นับตั้งแต่อดีตมากกว่าร้อยปีกลุ่มชาติพันธุ์มีความ หลากหลายและกระจายตัวอยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีกลุ่มชาติพันธุ์ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ใน จังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย จำนวน 67 จังหวัด 56 กลุ่ม มีประชากรรวมประมาณ 6,100,000 คน จำแนกพื้นที่ตาม ลักษณะการตั้งถิ่นฐานได้ 4 ลักษณะ คือ (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์, 2557) 1) กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง หรือ “ชนชาวเขา” จำนวน 13 กลุ่ม ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง(แม้ว) เย้า(เมี่ยน) ลีซู(ลีซอ) ลาหู่(มูเซอ) อาข่า(อีก้อ) ลั๊วะ ถิ่น ขมุจีนฮ่อ ตองซูคะฉิ่น และปะหล่อง(ดาลาอั้ง) 2) กลุ่มชาติพันธุ์ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบ จำนวน 38 กลุ่ม ได้แก่ มอญ ไทยลื้อ ไทยทรงดำ ไทยใหญ่ ไทยเขิน ไทยยอง ไทยหญ่า ไทยยวน ภูไท ลาวครั่ง ลาวแง้ว ลาวกา ลาวตี้ลาวเวียง แสก เซเร ปรัง บรู(โซ่) โซ่ง โซ ทะวิง อึมปีก๋อง กุลา ซอุโอจ(ชุอุ้ง) กูย(ส่วย) ญัฮกรู(ชาวบน) ญ้อ โย้ย เขมร ถิ่นไทย เวียดนาม(ญวน) เญอ หมี่ซอ(บีซู) ชอง กระชอง มลายูกะเลิงและลาวโซ่ง(ไทยดํา) 3) กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่า จํานวน 2 กลุ่ม ได้แก่ มลาบรี(ตองเหลือง) และมันนิ 4) กลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานในทะเล หรือ “ชาวเล” จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ มอแกน มอแกลน และอูรักละโว้ย มีข้อกล่าวหาว่า ชนเผ่าพื้นเมือง หรือกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นผู้ค้ายาและทำลายป่า ด้วยอคติทาง วัฒนธรรม และความไม่เข้าใจวิถีชนพื้นเมือง อคติเหล่านี้ เป็นภาพลักษณ์ที่สืบเนื่องมาจากสถานกรณ์ ความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน ที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ถูกเข้าใจว่าเกี่ยวข้อง หรือถูกเหมารวมว่าเป็น ผู้ค้ายาเสพติด รวมถึงวาทกรรม ไร่เลื่อนลอย และเป็นผู้ทำลายป่า เพียงเพราะภาครัฐไม่เข้าใจวิถี เกษตรกรรมและภูมิปัญญาแบบไร่หมุนเวียนที่มีรอบการผลิตหมุนเวียนไปตามฤดูกาลให้ธรรมชาติฟื้น ตัว ปัญหาอคติทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ทำให้ ชนเผ่าพื้นเมือง หรือ กลุ่มชาติพันธุ์ ถูกละเมิดสิทธิในด้าน ต่าง ๆ ได้แก่ (ศศิธร สุขบท, 2564) 1) ความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน เพราะถูกจำกัดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติตามวิถีวัฒนธรรม 2) ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมือง เพราะยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อีกหลายกลุ่ม ที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย 3) ถิ่นฐานที่ตั้งในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ชนเผ่าพื้นเมือง หรือกลุ่มชาติพันธุ์ เข้าไม่ถึงสิทธิใน บริการต่าง ๆ ของรัฐ และรวมไปถึง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3