2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

15 4) ปัญหาการสูญเสียอัตลักษณ์ และภูมิปัญญา อันเป็นต้นทุนสำคัญในการพึ่งพาตนเองของ กลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้ในปัจจุบันชาติพันธุ์ต้องสูญเสียศักยภาพของการพึ่งพาตนเอง กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในประเทศไทย อาจจัดอยู่ได้ในอีกหลายกลุ่ม ได้แก่ ชนเผ่าพื้นเมือง ชน กลุ่มน้อย กลุ่มเปราะบาง และผู้ด้อยโอกาส โดยสามารถวิเคราะห์จากความหมายของกลุ่มต่าง ๆ ข้างต้น ได้ดังต่อไปนี้ 1. ชนเผ่าพื้นเมือง ทั่วโลกมีชนเผ่าพื้นเมืองกว่า 370 ล้านคน และกระจายอยู่มากกว่า 90 ประเทศ ซึ่งชนเผ่า พื้นเมืองมีกว่า 5,000 เผ่าและมีภาษาพื้นเมืองมากกว่า 4,000 ภาษา โดยมีสัดส่วนประมาณ 5% ของ ประชากรโลก และชนเผ่าพื้นเมืองส่วนใหญ่ประมาณ 70% อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย ถึงแม้ว่า ชนเผ่า พื้นเมืองมีประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่พวกเขาต้องเจอสภาพความเป็นจริงที่เหมือนกัน นั่นคือ ถูกบังคับให้โยกย้ายถิ่นฐานออกจากที่ดินของบรรพบุรุษ ถูกปฏิเสธไม่ให้แสดงออกซึ่ง วัฒนธรรมของชนเผ่าตัวเอง ถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกปฏิบัติในฐานะพลเมืองชั้นสอง ชนเผ่าพื้นเมือง มักถูกผลักให้เป็นกลุ่มคนชายขอบและต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมของ ประเทศนั้น ซึ่งทำให้พวกเขาต้องเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงและการถูกละเมิดมากขึ้น การถูกเลือก ปฏิบัติเป็นเหตุผลว่าทำไมชนเผ่าพื้นเมืองกว่าร้อยละ 15 ของโลก มีสถานะที่ยากจนที่สุด นอกจากนี้ ชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกยังต้องเผชิญกับกับสภาพที่ไม่มีดินแดนสำหรับที่พักอาศัย ขาดสารอาหาร และ เกิดการพลัดถิ่นภายในประเทศที่สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ (Amnesty International Thailand, 2018) สรุป ชนเผ่าพื้นเมือง คือ กลุ่มคนมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา อัตลักษณ์เดียว อาศัยอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มเดียวกันมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ณ พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งกลุ่ม คนใดอาศัยอยูในพื้นที่ใดก็เป็นชนพื้นเมือง ณ พื้นที่นั้น ดังนั้นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในภาคใต้ของ ประเทศไทยจึงเป็นชนพื้นเมือง 2. ชนกลุ่มน้อย ชนกลุ่มน้อย (Minority) หมายถึง กลุ่มชนที่มิใช่คนไทย มีจำนวนน้อยกว่าเจ้าของประเทศ และมีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป อาศัยอยู่ในประเทศไทย อาจเป็นชนกลุ่มน้อยดั้งเดิม เช่น ชาวเขา หรือเป็นผู้อพยพมา หลบหนีเข้าเมืองหรือเข้ามาพักชั่วคราว (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2549) การใชคำวา “ชนกลุ่มน้อย” (Minority) นั้นเป็นคำที่มีความหมายหลากหลายและเป็นคำที่ มีการโตแย้งกันในขณะที่หลายรัฐบาลยังปฏิเสธการดำรงอยู่ของชนกลุ่มน้อยหรือไม่ก็ไม่ยอมรับวาใคร คือชนกลุ่มน้อยแต่การระบุถึงชนกลุ่มน้อยในทางระหว่างประเทศแลวค่อนข้างเป็นในทิศทางเดียวกัน คือ ชนกลุ่มน้อย คือกลุ่มของประชาชนผูซึ่งมีเอกลักษณทั่วไปที่อยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมชาติพันธุ ภาษาหรือศาสนา ซึ่งแตกตางจากกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มสำคัญที่อยู่รอบ ๆ พวกเขา แต่ประเด็นที่สำคัญ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3