2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

18 สามารถปฏิบัติหน้าที่ทางสังคมได้ตามปกติ ดั้งนั้นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลซึ่งเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับ การดูแลและการเร่งเข้าช่วยเหลือ โดยเป็นผู้ที่ถูกทอดทิ้งจากสังคม จึงเป็นผู้ด้อยโอกาส จากความหมายของชนเผ่าพื้นเมือง ชนกลุ่มน้อย กลุ่มเปราะบาง และผู้ด้อยโอกาส ที่ได้ สรุปมาแล้วข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในประเทศไทยเป็นชนเผ่าพื้นเมือง เป็นกลุ่ม เปราะบาง เป็นผู้ด้อยโอกาส แต่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย 2.3 กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลภาคใต้ คำว่า ชาวเล เป็นคำไทยปักษ์ใต้ที่ย่นย่อมาจาก ชาวทะเล คำว่า ชาวเล หากใช้ใน ความหมายทั่ว ๆ ไป ก็หมายถึง ผู้คนที่อยู่อาศัยแถบชายฝั่งทะเล หรือตามเกาะน้อยใหญ่และวิถีชีวิต ผูกพันกับทะเล หากใช้ในความหมายเฉพาะ คำว่า ชาวเล หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์หรือชนพื้นเมืองที่มี ภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับทะเลและวิถีชีวิตชายฝั่ง ชาวเลเคยมีวิถีชีวิตเร่ร่อน หรือกึ่งเร่ร่อน ใช้เวลาส่วนใหญ่ในเรือที่บ่อยครั้งเป็นทั้งบ้านและพาหนะเดินทางที่นำไปสู่เกาะใหญ่ น้อยอันเขียวชอุ่มและอุดมสมบูรณ์ในแถบทะเลอันดามัน วิถีชีวิตอันน่าทึ่งนี้ทำให้ชาวตะวันตกที่ได้พบ เห็นชาวเล ขนานนามให้ว่า Sea gypsy หรือยิปซีทะเล เนื่องจากมีวิถีชีวิตคล้ายกับกลุ่มยิปซีในยุโรปที่ เดินทางอพยพโยกย้ายไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น ชื่อ Sea gypsy จึงไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะชาวเล 3 กลุ่ม ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะอันที่จริงแล้ว ยังมีชนเผ่าเร่ร่อนทางทะเลอยู่หลายกลุ่มกระจายอยู่ใน หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (นฤมล อรุโณทัย, 2557) ปัจจุบันชาวเลส่วนใหญ่โดยเฉพาะชาวอูรักลาโว้ยและชาวมอแกลนได้รับสัญชาติไทยและถือ บัตรประชาชนไทย เนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานถาวร ติดต่อกับทางราชการสะดวก ต่างจาก กลุ่มชาวมอแกนที่ยังคงอาศัยอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ การติดต่อสื่อสารกับทางราชการยังยากลำบาก หน่วยงานรัฐเองก็เห็นว่าชาวมอแกนเป็นเพียงกลุ่มเร่ร่อนกลุ่มเล็กๆ จึงไม่ได้สนใจมากนัก (Sarakadee Magazine, 2562) คำว่า วิถีชีวิต คือการดำรงชีวิตของมนุษย์ เกี่ยวพันตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อันมี กระบวนการต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกันอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แต่อาจจะแตกต่างกันไปตาม สิ่งแวดล้อมและสภาพสังคมซึ่งความเป็นไปในการดำรงชีวิต (ราชบัณฑิตยสถาน, 2530) ซึ่งปัจจุบันนี้ชาวเลส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่งหรือบนเกาะ ส่วนใหญ่ยังยึดวิถีชีวิต ดั้งเดิมเกี่ยวกับทะเลเช่น ดำน้ำหาหอย กุ้ง ปู ตกปลา ทำลอบหรือลงอวนดักปลา บางส่วนหันมา ทำงานรับจ้าง เช่น ขับเรือท่องเที่ยวในขณะที่บางส่วนหันมาประกอบอาชีพอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับทะเล อาทิ รับจ้างทำสวน เป็นแรงงานก่อสร้างทำงานในโรงงาน เป็นลูกจ้างตามร้านค้าหรือรีสอร์ต ฯลฯ ชาวเลทุกกลุ่มตั้งบ้านเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือเกาะต่าง ๆ หรือในบริเวณที่ไม่ห่างจากฝั่งทะเลมาก นัก ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูลคาดว่ามีประชากรชาวเลทั้งสามกลุ่มในประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3