2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
19 ไทยราว 12,000 คน ในปัจจุบันสามารถแบ่งชาวเลที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยออกเป็นสาม กลุ่มใหญ่ๆ คือ มอแกน (Moken) มอแกลน (Moklen) และอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) (นฤมล อรุโณทัย, 2557) 2.3.1 ชาวเลมอแกน มอแกน (Moken) อาศัยอยู่ตามเกาะและริมทะเลอันดามันมานานตั้งแต่บรรพบุรุษ ใน สมัยก่อนอาศัยอยู่ในเรือ และบางทีก็อยู่เพิงพักหรือกระท่อมริมทะเลในหนแล้ง ช่วงฤดูมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม ทะเลอันดามันมีคลื่นลม สงบจะอยู่ในเรือ ในหน้าฝน ช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม จะตั้งเพิงพักชั่วคราวหรือกระท่อมตามชายหาดในอ่าวที่หลบคลื่นลมและจอดเรือ อย่างปลอดภัยได้ และแถวนั้นจะต้องมีแหล่งน้ำจืดด้วย แต่ในสมัยนี้มีการตั้งหลักปักฐานเป็นหลัก แหล่ง เพราะไม่ค่อยมีพื้นที่ตามเกาะและริมทะเลที่สามารถจอดเรือและตั้งเพิ่งพักได้อีกแล้ว มีอาชีพ ออกทะเล หาสัตว์ทะเล และยังทีการเข้าป่าเพื่อเก็บหาหัวมัน หน่อไม้ และพืชต่าง ๆ เพื่อการยังชีพ (นฤมล อรุโณทัย และคณะ, 2559) วิถีชีวิตของชาวมอแกนคือการตกปลา งมหอย ปลิงทะเล และสัตว์ทะเลอื่น ๆ เพื่อเลี้ยงชีพ และเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับข้าวสารและข้าวของจำเป็นมาช้านาน เครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือง่าย ๆ ที่มักจะทาขึ้นเอง เช่น ฉมวก แว่นตาดาน้ำ เหล็กเกี่ยวปู เหล็กเจาะหอย ฯลฯ ในการออกทะเลไปใน ระยะใกล้ๆ ชายชาวมอแกนแจวเรือ ขนาดเล็กที่เรียกว่า “ฉ่าพัน” ไปตกปลา งมหอย ปลิงทะเล จับปู และสัตว์ทะเลต่าง ๆ ผู้หญิงมอแกนจะชักชวนกันไปหาอาหารยามที่น้ำทะเลลดลง โดยการเดินลัด เลาะไปตามโขดหิน หาดทราย แนวปะการัง ป่าชายเลนไปหาสัตว์ทะเลมาทำเป็นอาหารสำหรับคนใน ครอบครัว (มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม, 2561) การเลือกสถานที่พักพิงหรือ การสร้างกระท่อมชั่วคราวในช่วงฤดูฝน สะท้อนให้เห็นถึงความรู้และประสบการณ์ของมอแกนที่สืบ ทอดกันมาด้านความปลอดภัย โดยจะพิจารณาพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นชายหาดในอ่าวที่สามารถหลบ คลื่นลมได้ อ่าวส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ เป็นบริเวณที่มีแหล่งน้ำจืด เป็นธารน้ำจาก ป่า น้ำซับ น้ำซึมหรือน้ำผุดบริเวณไม่ไกลจากชายหาด และเป็นบริเวณที่มีความลาดชันพอเหมาะ สามารถจอดเรือและแล่นเรือเข้า-ออกได้สะดวก (นฤมล อรุโณทัย และคณะ, 2549) ในปัจจุบันชาวมอแกนมีประชากรน้อยที่สุดในบรรดาชาวเลสามกลุ่ม และเป็นกลุ่มที่ยัง รักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้มากที่สุด ในประเทศไทยเราจะพบ ชาวมอแกนได้ที่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา เกาะเหลา เกาะพยาม และเกาะสินไห จังหวัด ระนอง และที่บ้านราไวย์ จังหวัดภูเก็ต คาดว่ามีประซากรมอแกนอาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 1,000 คน (สำนักงานโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาติ, 2562)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3