2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

20 2.3.2 ชาวเลมอแกลน ชาวมอแกลนตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยมายาวนานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ หมู่บ้านของ ชาวมอแกลนอยู่ชายฝั่งทะเลหรือด้านในแผ่นดิน หลายชุมชนมีตำนานเรื่องวีรบุรุษที่เป็นต้นกำเนิดของ ชาวมอแกลน ชื่อว่า“พ่อตาสามพัน” และในปัจจุบันเป็นที่เคารพนับถือกัน มีศาลอยู่ที่ชายหาดบางสัก จังหวัดพังงา พื้นที่ริมฝั่งทะเลของจังหวัดพังงามีชุมชนของชาวมอแกลนที่ตั้งถิ่นฐานมาแต่ดั้งเดิม เช่น ที่ริมทะเลบางสัก เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมอแกลนมายาวนานก่อนที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่จะเข้ามา ใช้ประโยชน์พื้นที่สำหรับที่บางสักนี้ บรรพบุรุษของชาวมอแกลนเล่าสืบต่อกันมาว่า ชาวมอแกลน น่าจะอพยพมาจากบ้านในหยงอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา แล้วค่อยๆ เริ่มตั้งถิ่นฐานที่บ้านลาปี บ้านเกาะนก บ้านทับปลา บางส่วนที่มาถึงบริเวณบางสักนี้ก็เริ่มตั้งถิ่นฐานที่ “นากก” บุกเบิกพื้นที่ ทำสวน ทาข้าวไร่ พร้อมทั้งทำประมง หาปลา ปู กุ้ง หอย และสัตว์ทะเลอื่น ๆ รวมทั้งเก็บผักผลไม้ป่า ต่อมาก็ย้ายมาที่ทุ่งทุ ทุ่งเค็ด นายาวและพื้นที่อื่น ๆ ในบริเวณนี้ แม้ว่าจะมีชุมชนมอแกลนกระจายตัว อยู่เพียง 2 จังหวัดคือพังงาและภูเก็ต แต่ก็มีจานวนชุมชนกว่า 20 แห่ง ซึ่งนับว่ามีจำนวนชุมชนมาก ที่สุดในกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลด้วยกันข้อมูลจากการสำรวจชาวเลมอแกลน เมื่อปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ.2560 พบมีชุมชนชาวมอแกลนกระจายตัวตามชุมชน 17 ชุมชนในพื้นที่จังหวัดพังงา 15 ชุมชน และภูเก็ต 2 ชุมชน (มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม, 2561) วิถีชีวิตของชาวมอแกลนส่วนใหญ่ทำประมงหาสัตว์ทะเลตามชายฝั่ง ชายหาดและตาม ป่าชายเลน ชุมชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลที่มีหาดทรายและแนวปะการัง มักจะหาปลา กุ้ง หอยชนิดต่าง ๆ และปลาหมึกสาย นอกจากอาชีพประมงแล้วชาวมอแกลนยังทำไร่ทำนา บางชุมชนเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ และหมูซึ่งมักจะเป็นหมูขี้พร้า การเลี้ยงเป็นแบบกึ่งอิสระคือให้หากินเองตามธรรมชาติควบคู่ไปกับการ ให้อาหาร การเลี้ยงหมูขี้พร้าแบบปล่อยให้หากินเองทั่วหมู่บ้านนั้นจึงเป็นอัตลักษณ์ของชาวมอแกลน ในหลายชุมชนการทำไร่ทำนาทำให้เกิดวัฒนธรรมการช่วยเหลือลงแรงคล้ายกับสังคมเกษตรกรรม หลังจากที่เริ่มมีการทำสวนมะพร้าว สวนยางพารา อุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุก ชาวมอแกลนก็หันมา ทางานรับจ้างเพื่อแลกกับข้าวและของจำเป็นอื่น ๆ ในระยะหลังเมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การค้า และการบริการเติบโตขึ้นอย่างมากในพื้นที่ริมฝั่งทะเลอันดามัน ชาวมอแกลนในชุมชนที่ไม่ห่าง จากแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่เมืองหรือกึ่งเมืองเข้ามาทำงานรับจ้างมากขึ้น (มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อ การศึกษาและสิ่งแวดล้อม, 2561) แม้ว่าชาวมอแกลนจะไม่ได้ออกเดินเรือหากินตามเกาะและชายฝั่ง ทะเลเป็นระยะเวลานาน ๆ แบบชาวมอแกนและชาวอูรักลาโว้ย แต่ก็มักจะอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ ชายฝั่งทะเลและออกหากินบริเวณใกล้ชายฝั่ง คือมีความผูกพันกับทะเลเหมือนกัน แต่เดิมบางชุมชนมี การปลูกข้าวไร่และบางส่วนก็มีนาผืนเล็ก ๆ มีการโยกย้ายถิ่นฐานอยู่เป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่ เนื่องมาจากโรคระบาด การหาพื้นที่ทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม การถูกคนภายนอกเข้ามาจับ จองพื้นที่และผลักไสให้ชาวมอแกลนย้ายออกไปจากพื้นที่เดิม (โอลิเวียร์ แฟร์รารี และคณะ, 2549)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3