2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

21 มอแกลนเป็นกลุ่มชาวเลที่ถือได้ว่าเป็นที่รู้จักน้อยที่สุดในสังคม เนื่องจากวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวมอแกลนที่เป็นลักษณะของคนบก ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง กล่าวคือ มอแกลนตั้งถิ่นฐานอยู่บนบกมานานกว่าร้อยปี ส่งผลให้มีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนนอกเป็นอย่างมาก เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมได้ง่าย และบางชุมชนมีการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยอยู่ร่วมกับคนไทย ส่งผลให้เกิดการกลืนกลายทางวัฒนธรรมบางส่วน และถูกเหมารวมว่าเป็นคนไทย กระทั่งเมื่อภัย พิบัติสึนามิเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สังคมภายนอกได้รู้จักกับ ชาวมอแกลนมากขึ้น เริ่มมีองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาให้ความช่วยเหลือและศึกษาชีวิตวัฒนธรรม ของชาวมอแกลน แต่ก็ยังคงปรากฏงานศึกษาน้อยและได้รับความสนใจน้อยกว่าชาวเลกลุ่มอื่น ๆ (ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล, 2559) ชาวมอแกลนนั้นก็มีปัญหาที่ประสบอยู่ในขณะนี้ไม่ได้แตกต่างไปจากชาวเลมอแกน นั่นก็คือ ปัญหาความมั่นคงด้านที่ดินที่อยู่อาศัยที่ทำกิน พื้นที่ทางจิตวิญญาณเป็นปัญหาหลักที่สำคัญของชาว มอแกลนปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยมีมานาน แต่เป็นที่รับรู้มากขึ้นหลังเหตุการณ์สึนามิเพราะมี องค์กรหน่วยงาน บุคคลภายนอกเข้าไปช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาวมอแกลนหลายครอบครัว ปัญหาการ จำกัดสิทธิในการเข้าถึงและใช้ทรัพยากรทรัพยากรที่น้อยลง รวมทั้งการจับจองที่ดินโดยเอกชนและ ธุรกิจ และการประกาศเขตอนุรักษ์ ส่งผลให้ชาวมอแกลนเดินทางทำมาหากินลำบาก การขาดพื้นที่ ช่องทางทำมาหากินผลักดันให้ชาวมอแกลนมีความเป็นอยู่ยากลำบาก ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทางาน รับจ้างรายวัน (มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม, 2561) ในปัจจุบันชุมชนชาวมอแกลนนั้น มีจำนวนหมู่บ้านมากที่สุดคือกว่า 20 แห่ง เช่น บ้านทุ่งดาบและบ้านท่าแป๊ะโฮ้ย และอีกหลายหมู่บ้านในอำเภอคุระบุรี รวมถึงบ้านทับตะวัน ลำแก่น ทุ่งหว้า น้ำเค็ม บางขยะ ขนิม หินลาด ทับปลา เกาะนก และบ้านท่าใหญ่ ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา นอกจากนั้นยังมีชุมชน ในอำเภอตะกั่วป่า บ้านท่าฉัตรไชยและบ้านเหนือ ในจังหวัด ภูเก็ต ปัจจุบันคาดว่ามีประซากรมอแกลนอาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 4,000 คน (นฤมล อรุโณทัย, 2557) 2.3.3 ชาวเลอูรักลาโว้ย ชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย เป็นชชาวเลกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะใน ราวทศวรรษ 2440 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยเหตุผลทางการเมืองเรื่องการปัก ปันเขตแดนใหม่ จึงได้มีการอพยพชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ยส่วนหนึ่งจากเกาะลันตาจังหวัดกระบี่และ เกาะสิเหร่จังหวัดภูเก็ตไปตั้งถิ่นฐานบริเวณเกาะหลีเป๊ะและเกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะอาดัง -ราวี เพื่อ ผลประโยชน์ของสยามในการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่มีราษฎรชาวสยามอาศัยอยู่ เดิมชาวเลกลุ่ม อูรักลาโว้ยมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีความแตกต่างกับวิถีชีวิตและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3