2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
22 วัฒนธรรมของชนพื้นเมือง หรือชนกลุ่มใหญ่ในภาคใต้ อูรักลาโว้ยมีภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ไม่มี ภาษาเขียน อูรักลาโว้ยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับทะเลไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งจะปลูกสร้างไว้ บริเวณชายหาดด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นตำรงชีพด้วยการทำประมง มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์ ขึ้นเอง มีความสามารถในการดำน้ำซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอูรักลาโว้ย ส่วนในฤดูมรสุมคำรงชีวิตด้วย การเก็บของป่าใกล้ ๆ ชายฝั่งเป็นอาหาร มีพิธีกรวมที่สำคัญซึ่งผูกพันอยู่กับทะเลคือพิธีลอยเรือ วิถี ชีวิตของอูรักลาโว้ยจึงเป็นวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ แต่อย่างไรก็ตามวิถี ชีวิตและวัฒนธรรมของอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีปัจจัยต่าง ๆ เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อรูปแบบวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของอูรักลาโว้ย เช่นการเสียชีวิตของผู้นำในยุคตั้งเดิมการเข้ามาของพ่อค้าคนกลางและการขยายตัวของอำนาจรัฐอัน ได้แก่ การก่อตั้งโรงเรียน สถานีอนามัย รวมถึงการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ดังนั้น หลังจากปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา จึงเป็นยุคที่เกิดความสืบเนื่องและความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับวิถีชีวิต ของชาวอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 ชุมชนอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะได้เกิดความ เปลี่ยนแปลงไปในอีกระดับหนึ่งอันเกิดจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นหลักสำคัญชาว อูรักลาโว้ยในชุมชนจึงได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนให้สอดรับกับสภาพชุมชนที่พัฒนาขึ้นเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่สำคัญเพื่อความอยู่รอดในกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสตูล, 2533) วิถีชีวิตของชาวอูรักลาโว้ยคือการตกเบ็ด ดำน้ำแทงปลา หาหอย และล่าสัตว์ทะเลเป็น อาหาร ในช่วงมรสุมออกทะเลไม่ได้ต้องหลบลมหลบฝนตามชายฝั่ง หรือขึ้นฝั่งมาหาน้ำจืดก็จะหุงหา อาหารโดยเก็บมะพร้าว เก็บยอดผัก ล่าสัตว์เล็กตามชายฝั่งสำหรับปรุงอาหาร หลังจากที่อูรักลาโว้ย บางกลุ่มเริ่มขึ้นมาตั้งหลักแหล่งบนฝั่ง เพราะแหล่งที่เคยเร่ร่อนพักอาศัยถูกยึดครองโดยกลุ่มชนอื่น แล้ว ก็เริ่มเรียนรู้การทำไร่ปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ ทำสวนยางพารา ฯลฯ แต่บางกลุ่มที่อาศัยในเขต พื้นที่อุทยานแห่งชาติไม่สามารถปลูกพืชได้ก็ยังยึดทะเลเป็นแหล่งเสบียงอาหาร ต่อมามีการติดต่อกับ ผู้คนต่างวัฒนธรรม นำของทะเลที่เป็นส่วนเกินไปแลกเปลี่ยนของใช้จำเป็น บางกลุ่มรับจ้างแรงงานกับ ชาวจีน ได้ค่าตอบแทนเป็นเสื้อผ้าเก่า ข้าวสาร ในช่วงหลังอูรักลาโว้ยบางกลุ่มตกอยู่ภายใต้ระบบ เศรษฐกิจแบบพึ่งพา ด้วยการเช่าซื้ออวน เรือหางยาวพร้อมเครื่องเรือจากนายทุน โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องจับกุ้ง หรือปลาส่งขายให้กับนายทุนเท่านั้นเพื่อหักหนี้สิน หลังเหตุการณ์สึนามิ จึงได้รับบริจาค เรือและเครื่องมือหากินเป็นของตนเอง ประกอบกับธุรกิจการท่องเที่ยวเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น อูรักลา โว้ยที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว สามารถปรับตัวให้สามารถอยู่รอดในสังคมได้ด้วยการออกทะเลหาปลาไป ขายร้านอาหารบ้างรับจ้างแรงงานบ้าง (มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม, 2561) ในปัจจุบันจะพบชุมชนชาวอูรักลาโว้ยได้ที่บ้านสะปำ บ้านแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ และ หาดราไวย์ ในจังหวัดภูเก็ต บ้านโต๊ะบาหลิว บ้านในไร่ บ้านคลองดาว และบ้านสังกะอู้บนเกาะลันตา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3