2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
24 (7) สิทธิในการรับการศึกษาขั้นมูลฐาน (8) สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ เมื่อเห็นเจ้าพนักงานของหน่วยราชการทำไม่ถูกต้อง เสรีภาพขั้นพื้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้แก่ (1) เสรีภาพในการนับถือศาสนา (2) เสรีภาพในการประกอบอาชีพ (3) เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์และโฆษณา (4) เสรีภาพในการเดินทางและเลือกที่อยู่อาศัย (5) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (6) เสรีภาพในการศึกษา (7) เสรีภาพในร่างกาย (8) เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง หน้าที่ของประชานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้แก่ (1) หน้าที่จะต้องดำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (2) หน้าที่จะต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น (3) หน้าที่ในการป้องกันประเทศ (4) หน้าที่ในการรับราชการทหารตามกฎหมาย (5) หน้าที่ในการเสียภาษีอากร (6) หน้าที่ช่วยเหลือราชการที่กฎหมายกำหนด (7) หน้าที่ได้รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายกำหนด (8) หน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง (9) หน้าที่ในการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง สวัสดิการในประเทศไทย สวัสดิการ คือ การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและ สะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล ให้ที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน , 2554) สวัสดิการ (Welfare) คือการมุ่งให้เกิดการกินดีอยู่ดีของบุคคลหรือกลุ่มสวัสดิการทั่วไปของ ชุมชนหรือสังคม ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม สวัสดิการ หมายถึง “การกินดีอยู่ดี” หรือ Well-being ซึ่งถ้าจะขยายความออกไปก็อาจกล่าวได้ว่า คือภาวะของการมีสุขภาพดี มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสุข ถ้าเกี่ยวกับด้านแรงงานก็หมายถึง สิ่งหรือสถานการณ์ที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกสบาย หรือความกินดีดอยู่ดีของลูกจ้างนั่นเอง ซึ่งการดดำเนินการเพื่อให้เกิดภาวะที่มีความสะดวกสบาย หรือความกินดีอยู่ดีของลูกจ้างนี้มิได้ หมายความว่า เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างแต่ฝ่ายเดียว รัฐบาลและสหภาพแรงงานก็ต้องมีส่วน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3