2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

25 ร่วมด้วย สวัสดิการ หมายถึง บริการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่หน่วยงานราชการ หรือองค์กรธุรกิจเอกชน จัดให้มีขึ้นเพื่อให้ข้าราชการ พนักงานหรือผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรนั้น ๆ ได้รับความสะดวกสบายใน การทำงาน มีความมั่นคงในอาชีพ มีหลักประกันที่แน่นอนในการด าเนินชีวิตหรือได้รับประโยชน์อื่น ใดนอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญ และกำลังใจที่ดีเพื่อจะได้ใช้กำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญา ความสามารถของตนในการปฏิบัติงาน อย่างเต็มที่ ไม่ต้องวิตกกังวล ปัญหายุ่งยากทั้งในทางส่วนตัวและครอบครัวทำให้มีความพอใจในงาน มี ความรักงานและตั้งใจที่จะทำงานนั้นให้นานที่สุด สำหรับสวัสดิการที่สมบูรณ์แบบนั้นย่อมหมายถึง สวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง ทั้งในขณะที่ทำงาน (On – the – Job), นอกเวลาทำงานแต่ยังอยู่ในที่ ท ำ ง า น (Off – the – job within the workplace), น อ ก ส ถ า น ที่ ท ำ ง า น (Outside the workplace) นอกจากนั้นจะต้องไม่ให้เฉพาะลูกจ้างเท่านั้น แต่จะต้องรวมถึงครอบครัวและชุมชนด้วย (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2554) รัฐสวัสดิการ เป็นสวัสดิการที่ประชาชนทุกคนได้รับอย่างเท่าเทียมกันและครอบคลุม โดยผู้ ที่มีหน้าที่สร้างและดูแลสวัสดิการต่างๆ ก็คือรัฐนั่นเอง รัฐจะจัดหาสวัสดิการที่หลากหลายและ ครอบคลุมคนกลุ่มต่างๆ ตลอดช่วงชีวิตเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สวัสดิการด้าน การศึกษา สวัสดิการด้านสุขภาพ สวัสดิการด้านการคมนาคม สวัสดิการผู้สูงอายุ เป็นต้น สวัสดิการจึง เป็น “บริการสาธารณะ” ที่ประชาชนของประเทศนั้นได้รับจากรัฐ ไม่ว่าจะรวยหรือจน อยู่ในชนชั้น ไหนของสังคมก็จะได้รับสวัสดิการเหมือนกัน ดังนั้น การมีรัฐสวัสดิการจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนทุก คนได้รับโอกาสในชีวิตอย่างเท่าเทียมกันโดยเฉพาะคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน เมื่อทุกคนได้รับสวัสดิการ ขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของ สังคมไทย ทำให้ประชาชนไม่ต้องกังวลเรื่องปากท้อง เมื่อคนมีโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเท่า เทียมกัน การพัฒนาประเทศก็ทำได้เร็วขึ้นและไปได้ไกล (SCHL, 2564) ประเทศไทยมีประชาชนประมาณ 70 ล้านคน มีความหลากหลายทั้งฐานะ อายุ ระดับ การศึกษา ที่อยู่อาศัย อาชีพ การใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งรัฐบาลจัดสวัสดิการโดยรวมให้ด้วยการออก นโยบายสวัสดิการสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับสวัสดิการ จะต้องลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดหรือไม่ ถ้ามีคุณสมบัติตรงตามที่ กำหนดจึงจะได้รับสวัสดิการ ตัวอย่างสวัสดิการของไทย มีดังนี้ (รชต สนิท, 2564) 1) สวัสดิการเลี้ยงดูบุตร : ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาท/ปี ได้เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท/เดือน จนบุตรอายุ 6 ปี และผู้ประกันตน ม.33 ได้รับเงินเลี้ยงดูบุตร 800 บาท/เดือน จนบุตร อายุ 6 ปี 2) สวัสดิการการศึกษา : ค่าเล่าเรียน 1,100-11,900 บาท/คน/ปี (ม.ปลาย ได้รับเงิน สนับสนุน 3,800 บาท)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3