2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

26 3) สวัสดิการด้านสาธารณสุข : โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 4) สวัสดิการแรงงาน : เงินทดแทนการว่างงาน 30%-50% ของเงินเดือน (แต่มีเพดานฐาน เงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท) เป็นเวลา 90-180 วัน ครอบคลุมเฉพาะผู้ประกันตนม.33 5) สวัสดิการวัยเกษียณ : เงินบำนาญ 20% ของเงินเดือน (แต่มีเพดานฐานเงินเดือนสูงสุด ที่ 15,000 สำหรับผู้ประกันตนม.33 และ 4,800 สำหรับผู้ประกันตนม.39) หากถ้าจ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี บวกให้เพิ่มอีกปีละ 1.5% งานสวัสดิการสังคมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ ของประชาชน ในสังคมให้มี ความ เป็นอยู่ที่ดี 7 ด้าน ดังนี้ (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2559) 1) ด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดี หมายความถึง ประชาชนพึงได้รับการป้องกันโรคภัยไข้ เจ็บ การรักษา พยาบาล การส่งเสริม และพัฒนาสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน โดย ประชาชน ไม่ว่า เพศใด อายุวัยใด เชื้อชาติใด ศาสนาใด อยู่ในภูมิภาคใด หรือ อยู่ในวัฒนธรรมใด มีความสนใจใน ทางการเมือง มีแบบแผนการดำรงชีวิตเช่นใด หรือมีสถานภาพ ทางเศรษฐกิจสังคมในระดับชั้นใดก็ตาม พึงได้รับ บริการสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพอนามัยที่ได้ มาตรฐาน อย่างทั่วถึง เสมอภาค เป็นธรรมสอดคล้องกับ ความ ต้องการ และสถานการณ์ ปัญหาของ บุคคล กลุ่มบุคคล และประชาชน 2) ด้านการมีการศึกษาที่ดี หมายความถึง ประชาชนพึงได้รับบริการที่ส่งเสริมและพัฒนา ตนเองให้มี ความรู้ ทักษะ ตลอดจนปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิต อย่างมีคุณภาพต่อไป และแม้ว่าประชาชนจะมีข้อบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม หรือ ด้อยโอกาสทางการศึกษา ก็จะได้รับบริการการศึกษาพิเศษ และจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชนที่มีข้อจำกัด เหล่านั้น ทั้งนี้ประชาชนทุกคนต้องได้รับการศึกษา ในระดับ อย่างน้อย ที่สุด คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ความ พิการ ความบกพร่อง ด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาส ชน กลุ่มน้อย คนต่างวัฒนธรรม ต่างศาสนา ต่างความเชื่อ ต่างความสนใจ ทางการเมือง ต่างแบบ แผนการดำเนินชีวิต ผู้อยู่ในภูมิภาคท้องถิ่นห่างไกล เป็นผู้ด้อยโอกาส หรือแม้แต่เพศ วัย ผิวพรรณ ต้องไม่ เป็นเหตุให้ประชาชน ผู้ใดขาดโอกาสทางการศึกษา หรือได้รับบริการทางการศึกษา น้อยกว่า หรือด้อยกว่า ไม่เป็น ธรรมหรือไม่เท่าเทียมกับประชาชน โดยทั่วไป 3) ด้านการมีที่อยู่อาศัย หมายความถึง การที่ประชาชนมีที่อยู่อาศัยตามควรแก่อัตภาพ ช่วยเสริมสร้าง คุณภาพชีวิตที่ดี ในทำนองเดียวกัน ประชาชนทุกคนควรจะได้มีที่อยู่อาศัย ตามแต่ กำลังความสามารถของบุคคล ที่จะได้มาอย่างน้อยที่สุดที่อยู่อาศัยต้องให้ความปลอดภัย ความมั่นคง อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่มีสภาพเสื่อมโทรม แออัด แวดล้อมด้วยมลพิษหรือเสี่ยงต่อ ภัยพิบัติ เสี่ยงต่อ ความเสื่อมเสียทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3