2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

27 4) ด้านการมีงานทำ การมีรายได้ และการมีสวัสดิการแรงงาน หมายความถึง ประชาชนมี งานทำที่ทำให้มี รายได้อย่างน้อย เพียงพอ แก่การดำรงชีพ งานที่ทำมีสวัสดิการที่ดีหรืออย่างน้อย ตามที่กฎหมายกำหนด งานที่ทำ ต้องไม่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ และอุบัติภัย ต่าง ๆ ไม่เป็นงาน ที่สร้างความเสื่อมเสีย แก่ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ ไม่ผิดศีลธรรมหรือผิดกฎหมาย ประชาชนมีความ ภาคภูมิใจในงานที่ทำ และมีโอกาสก้าวหน้า ในการทำงาน นั้น ๆ ประชาชนต้องได้รับรายได้และ สวัสดิการจาการทำงานอย่างเสมอภาค เท่าเทียม และยุติธรรม ประชาชน สามารถรวมกลุ่มรวมตัวกัน ปกป้องผลประโยชน์ ของตนในรูปของสหภาพแรงงาน เมื่อมี การเลือกปฏิบัติ หรือ ประชาชนทราบ ว่าไม่ได้รับความยุติธรรมในเรื่องรายได้ สภาพการทำงาน การจ้างงาน และสวัสดิการแรงงาน ประชาชนต้องได้รับความคุ้มครอง จากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการและกลไก ด้านแรงงานสัมพันธ์ต้องสามารถรองรับปัญหาและความต้องการของ ประชาชน ด้านนี้ได้ 5) ด้านการมีความมั่นคงทางรายได้ หมายความถึง ประชาชนทุกคนที่มีรายได้เพียงพอแก่ การยังชีพ ได้รับ การคุ้มครอง ในเรื่องความมั่นคงในการดำเนินชีวิตของตนและครอบครัว ในรูปของ การประกันสังคมซึ่งครอบคลุม เรื่องผลประโยชน์จากการประกันสุขภาพ การสงเคราะห์บุตร การชดเชยการขาดรายได้จากการเจ็บป่วย พิการ ทุพพลภาพ ชราภาพ และการว่างงาน การ ประกันสังคมเป็นมาตรการหนึ่งที่จะสร้างความมั่นคง ทางสังคม โดย เฉพาะกับประชาชนผู้มีรายได้ ประจำ ไม่ให้ได้รับ ความเดือดร้อน เมื่อมีเหตุให้ สูญเสียรายได้ทั้งหมด บางส่วน หรือ ไม่พอเพียงแก่ การยังชีพ 6) ด้านนันทนาการ หมายความถึง ประชาชนมีกิจกรรมนันทนาการเพื่อการบันเทิงและ การพักผ่อนใจ อย่าง มีคุณภาพ โดยกิจกรรมนันทนาการนั้นๆ ไม่เป็นการทำให้เสื่อมเสียศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ ไม่ผิดศีลธรรม และ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เป็นการ เอารัดเอาเปรียบ กดขี่ข่มเหง หรือละเมิด สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนในกลุ่มอื่น ๆ 7) ด้านการบริการสังคมทั่วไป หมายความถึง การให้บริการแก่ประชาชนโดย เฉพาะผู้คน ยากจน ผู้ด้อย โอกาส และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เพื่อช่วยสร้างเสริม การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยพัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ ให้สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างเป็นสุขตามควรแก่อัตภาพ 2.4.2 ช่องว่างของสวัสดิการในประเทศไทย ช่องว่างสวัสดิการของประเทศไทยนั้น เมื่อมองภาพรวมแล้ว ประเทศไทยดูเหมือนจะมี สวัสดิการครอบคลุมประชาชนกลุ่มต่าง ๆ แล้วก็จริง แต่ในความเป็นจริงยังมีประชาชนที่ไม่สามารถ เข้าถึงสวัสดิการได้ ยังมีคนที่ตกหล่นจากการได้รับสวัสดิการ หรือแม้จะได้รับสวัสดิการแต่ไม่เพียงพอ กับการดำรงชีวิต จึงยังมีช่องว่างอีกมากที่สามารถพัฒนาและสนับสนุนเพิ่มเติมได้เพื่อให้สวัสดิการมี คุณภาพดีขึ้น ช่องว่างดังกล่าว ได้แก่ (SCHL, 2564)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3