2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

28 1) สวัสดิการไม่มีความต่อเนื่อง สวัสดิการที่มีอยู่ในประเทศไทยมาจากนโยบายสวัสดิการ ซึ่งมักจะเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งที่เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อไม่ได้เป็นรัฐบาล แล้วนโยบายนั้นอาจจะไม่ได้ทำต่อหรือมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การให้สวัสดิการ เช่น นโยบาย รถเมล์และรถไฟฟรีเคยเป็นนโยบายให้ประชาชนทุกคนแบบถ้วนหน้าตั้งแต่ปีพ.ศ.2551 แต่เมื่อเปลี่ยน รัฐบาลก็ยกเลิกในปีพ.ศ. 2558 จากเดิมที่ทุกคนใช้บริการได้เปลี่ยนเป็นให้ผู้ที่ใช้รถเมล์และรถไฟฟรีได้ ต้องเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเท่านั้น โดยคนกลุ่มนี้ได้รับเงินค่าเดินทางเป็นค่ารถเมล์ MRT และ BTS รวมกัน 500 บาท รถ บขส. 500 บาท และรถไฟ 500 บาท/คน/เดือน (ธันวาคม 2563) 2) สวัสดิการไม่ถ้วนหน้า สวัสดิการในปัจจุบันไม่ครอบคลุมทุกคน เป็นการจัดสรรให้เฉพาะ กลุ่มคนที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นต้องได้รับสวัสดิการโดยมีการกำหนดคุณสมบัติเพื่อคัดกรอง เช่น ผู้ที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต้องเป็นบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ผู้ที่ได้รับเบี้ยผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ เป็นต้น การกำหนดคุณสมบัติจึงทำให้คนที่ มีความจำเป็นต้องได้รับสวัสดิการแต่ไม่ได้มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดตกหล่นจากการได้รับ สวัสดิการ 3) มีข้อจำกัดในการเข้าถึง การรับรู้ข่าวสารสวัสดิการ รวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการรับ สวัสดิการอย่างการดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อลงทะเบียน และการตรวจสอบสิทธิต้องใช้อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ตโฟน กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยและไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้จึงอาจจะไม่รู้ข่าวสาร หรือไม่สามารถลงทะเบียนได้แม้ว่าจะมีหน่วยงานรับลงทะเบียนก็ตาม จึงตกหล่นจากการได้รับ สวัสดิการ นอกจากนี้การลงทะเบียนยังต้องใช้เอกสารหลายฉบับ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนา ทะเบียนบ้าน หากไม่มีเอกสารเหล่านี้จะไม่สามารถลงทะเบียนได้ 4) โครงสร้างพื้นฐานไม่รองรับการใช้ชีวิตแม้มีสวัสดิการอยู่ แม้จะมีสวัสดิการสำหรับกลุ่ม คนที่มีความจำเป็น แต่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การคมนาคมกลับไม่สะดวกพอให้กลุ่มคนไปใช้สิทธิที่มี ตามสวัสดิการได้ เช่น ผู้พิการมีสวัสดิการเรียนฟรีจนจบมหาวิทยาลัย แต่ในความเป็นจริงแล้วมีผู้พิการ ทางการเคลื่อนไหวที่เดินทางไปเรียนไม่ได้เพราะใช้ระบบขนส่งสาธารณะไม่ได้ ฟุตบาทไม่เรียบพอให้ เข็นรถเข็น หรือสถานที่ที่ไปเรียนไม่ได้ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้รถเข็น ทำให้เขาไปเรียนไม่ได้ แม้ว่าจะมีสวัสดิการเรียนฟรีอยู่ก็ตาม 5) เงินจากสวัสดิการไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต ในปี 2562 พบว่าระดับเส้นความยากจน (ระดับรายได้ที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในประเทศนั้นๆ) อยู่ที่ 2,763 บาท/คน/เดือน นั่นหมายความว่า ถ้าจะใช้ชีวิตให้อยู่ได้ 1 เดือนในประเทศไทยต้องใช้เงินประมาณ 3,000 บาท แต่เงินที่ได้จาก สวัสดิการกลับมีน้อยกว่ามาก เช่นผู้พิการได้รับเบี้ยผู้พิการ 1,000 บาท/เดือน ส่วนผู้สูงอายุได้รับเบี้ย ผู้สูงอายุเริ่มต้นที่ 600 บาท/เดือน เงินที่ได้จากสวัสดิการจึงยังไม่เพียงพอกับการใช้ชีวิตจริง ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3